
ระบบตัวเขียนเพื่อการบันทึกองค์ความรู้ทางวัฒนธรรม : กรณีศึกษาระบบตัวเขียนภาษาอูรักลาโวยจเพื่อการบันทึกพิธี “อารี ปาจัก”
A writing system for recording cultural knowledge: A case study of the Urak Lawoi writing system for recording the ‘Ari pajak’ ceremony
โดย รณกร รักษ์วงศ์ / By Ronnakon Rakvong
Damrong Journal, Vol 14, No.2, 2015
บทคัดย่อ:
ระบบตัวเขียนภาษาท้องถิ่นเป็นเครื่องมือในการบันทึกภาษาที่จะมีส่วนช่วยให้เจ้าของภาษาสามารถนำมาใช้บันทึกภาษาได้ด้วยตนเอง ระบบตัวเขียนสามารถนำมาใช้บันทึกวัฒนธรรมของชุมชนด้วยภาษาของตนเองได้เป็นอย่างดี โดยใช้กระบวนการเลือกสรรเรื่องราวทางวัฒนธรรมที่สำคัญแล้วนำมาบันทึกโดยมีเจ้าของภาษาเป็นผู้บันทึกและมีนักภาษาศาสตร์และนักมานุษยวิทยาเป็นพี่เลี้ยงในการทำงานควบคู่ไปกับผู้บันทึกซึ่งเป็นเจ้าของวัฒนธรรม โดยในกรณีศึกษาของกลุ่มอูรักลาโวยจพบว่าชาวอูรักลาโวยจสามารถนำระบบตัวเขียนในภาษาของตนเองมาบันทึกพิธี “อารี ปาจัก” ของหมู่บ้านได้ และสามารถใช้เป็น “ตำราพิธีอารี ปาจัก” ในชุมชนได้ในที่สุด
ABSTRACT:
Writing systems are a tool for recording Ethnic languages which are spoken by native speakers. They can use this tool to record their cultural and ethnic knowledge in their own language. The process involves selecting their important cultural stories and writing them down. Linguists and Anthropologists fulfill the role of facilitators who work together with them. In this case study, the Urak Lawoi team is able to use their writing system for the recording the ‘Ari pajak’ ceremony and use it as a manual for their community.