
ผีตาโขนเต้นกังนัมสไตล์: กรณีศึกษาผลกระทบของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงความหมายทางวัฒนธรรมของผีตาโขนแห่งด่านซ้าย
Phi Ta Khon Performing Gangnam Style Dance: A Case Study of the Impact of Tourism Industry on the Changing Cultural Meaning of Dansai’s Phi Ta Khon
โดย ดร. พรสวรรค์ ตรีพาสัย / By Dr. Pornsawan Tripasai
Damrong Journal, Vol 15, No.1, 2016
บทคัดย่อ:
บทความนี้มุ่งศึกษาผลกระทบของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่มีต่อชุมชนเจ้าของวัฒนธรรม โดยใช้ข้อมูลกรณีศึกษาจากคลิปวีดิโอยูทูบ “ผีตาโขนเต้นกังนัมสไตล์” ซึ่งจัดทำโดยเทศบาลตำบลด่านซ้าย อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ในการศึกษานี้ผู้ศึกษาเลือกใช้วิธีการวิเคราะห์ตัวบทและองค์ประกอบในการเล่าเรื่อง เพื่อหาคำตอบว่าผู้ผลิตคลิปวิดีโอมีกระบวนการอย่างไรในการสร้างความหมายใหม่ให้แก่ผีตาโขนที่ใช้ในการท่องเที่ยว และความหมายนั้นต่างกับความหมายเดิมที่เกิดจากการประกอบสร้างของผู้คนในท้องถิ่นอย่างไร การวิเคราะห์ตัวบทยังช่วยให้เข้าใจความขัดแย้งระหว่างเทศบาลตำบลด่านซ้ายและคนในท้องถิ่นซึ่งเป็นผลจากการสร้างความหมายที่แตกต่างกัน ผลการศึกษาพบว่าการสร้างความหมายใหม่ของเทศบาลตำบลด่านซ้ายเป็น “การสร้างวัฒนธรรมเพื่อการค้า” คือเพื่อการท่องเที่ยว แต่ชาวด่านซ้ายมีความเห็นว่าความหมายเดิมของผีตาโขนเกิดจากหลอมรวมบริบททางประวัติศาสตร์สังคมจนเกิดเป็นประเพณีการเล่นผีตาโขน การจัดทำคลิปวิดีโอโดยที่คนในท้องถิ่นไม่ได้มีส่วนร่วมนับเป็นการแทรกแซงของภาครัฐที่นำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างภาครัฐกับชุมชน
ABSTRACT:
This article presents a case study of the impact of tourism industry on host community. A textual analysis of the narrative elements of the video clip “ผีตาโขนเต้นกังนัมสไตล์” (Phi Ta Khon Performing Gangnam Style Dance) produced by the Dansai Municipality is employed to unpack the meaning-making process that generates the new meaning of “being touristy” to the Phi Ta Khon tradition of Dansai, Loei Province, which is different from the definition made by the Dansai residents. The textual analysis also renders comprehensible the conflict between the municipality and the residents caused by their different meaning-making approaches. While the Phi Ta Khon tradition is seen by the municipality as a “culture for sale,” to the residents of Dansai, its cultural significance is the result of the combined socio-historical contexts of Dansai. The municipality’s clip production without consulting the residents reveals the local government’s intervention which subsequently leads to the conflict between the authorities and the community.