
การจัดการป่าต้นน้ำภูน้ำดั้นเพื่อความยั่งยืนของฐานทรัพยากรอาหารของชุมชน
Phu Namdaan Watershed Management for Community-Based Food Resource Sustainability
โดย ดร. เอกรินทร์ พึ่งประชา / By Dr. Ekarin Phungpracha
Damrong Journal, Vol 16, No.1, 2017
บทคัดย่อ:
บทความเรื่องนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาว่า ชุมชนมีแนวทางการจัดการป่าต้นน้ำอย่างไรจนนำ ไปสู่ความยั่งยืนของฐานทรัพยากรอาหาร โดยเลือกศึกษาพื้นที่ป่าต้นน้ำภูน้ำดั้น บ้านห้วยปลาฝา อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ที่มีพัฒนาการการจัดการป่าต้นน้ำมาอย่างยาวนาน อีกทั้งยังสะท้อนให้เห็นปัญหาของพื้นที่ป่าต้นน้ำภูน้ำดั้นที่ต้องเผชิญกับการสัมปทานป่าไม้และการขยายพื้นที่ทำ กินของชาวบ้าน ส่วนระเบียบวิธีวิจัยเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ เน้นการลงพื้นที่ภาคสนามการสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วม สัมภาษณ์เชิงลึก สัมภาษณ์แบบกลุ่มและการระบุพันธุ์พืชและงานเอกสาร ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า แนวทางการจัดการป่าต้นน้ำเพื่อความยั่งยืนของฐานทรัพยากรอาหารของชุมชนประกอบด้วย 3 ส่วน 1. เครือข่ายทางสังคมที่เป็นพลังในการขับเคลื่อนการประเมินสถานการณ์และจัดการป่าต้นน้ำ 2. กฎเกณฑ์ของชุมชนที่มีระดับความเข้มงวดการใช้บังคับในบริบทของสถานการณ์และปัญหาที่เกิดขึ้นต่างๆ กัน และ 3. ประเพณีและพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ
ABSTRACT:
The aim of this article was to study watershed management for community-based food resource sustainability. The area of study was the Phu Namdaan watershed, Huay Pla Pha village, Dansai district, Loei province. It has a long history of watershed management which has demonstrated that the watershed was threatened by commercial forest and agricultural expansion. For the research methodology, this study applied qualitative research techniques focusing on field research; including observations , in-depth interviews, focus group discussions, plant identification, and documentation. The results of the study found that watershed management for community-based food resource sustainability is composed of 3 parts: 1. Social networks have the ability to examine and management watersheds 2. The community has various laws designed to look after local people and 3. Traditions and rituals related to watershed conservation.