
การวิเคราะห์ช่องว่างทางงานวิจัยด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชนในประเทศไทย
Analyzing Research Gap on Community Based Tourism in Thailand
โดย จักรกฤษณ์ เจริญสิทธิ์, ดร.ดรรชนี เอมพันธุ์ / By Jakkrit Charoensit, Dr.Dachanee Emphandhu
Damrong Journal, Vol 17, No.1, 2018
บทคัดย่อ:
แทงบอล ซอคเกอร์ลีก คะแนนฟุตบอลการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์งานวิจัยด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชนในประเทศไทยและวิเคราะห์ช่องว่างทางองค์ความรู้สำหรับงานวิจัยในอนาคต เก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณระหว่างเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 จากฐานข้อมูลวิชาการออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่ามีงานวิจัยด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชนในประเทศไทยที่ได้รับการตีพิมพ์และสามารถสืบค้นได้จำนวนทั้งหมด 240 เรื่อง งานวิจัยส่วนใหญ่ดำเนินการในปี พ.ศ. 2558 และมุ่งเน้นศึกษาชุมชนท้องถิ่นในพื้นที่ภาคเหนือ ประเด็นทางการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่ศึกษากันมากที่สุดคือด้านการจัดการและการพัฒนารวมถึงการมีส่วนร่วมของชุมชน ทิศทางการศึกษาและจำนวนงานวิจัยที่เพิ่มขึ้นในแต่ละช่วงเวลาสอดคล้องกับการเติบโตและจำนวนที่เพิ่มขึ้นของชุมชนในประเทศไทยที่ทำการท่องเที่ยวโดยชุมชน งานวิจัยด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชนในอนาคตควรศึกษาประเด็นที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้ 1) การตลาดและนักท่องเที่ยว 2) การต้อนรับและการบริการ 3) การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ 4) การถ่ายโอนองค์ความรู้ 5) การติดตามตรวจสอบและประเมินผล 6) การจัดการโดยการถอดบทเรียน 7) การท่องเที่ยวโดยชุมชนในพื้นที่คุ้มครอง 8) การท่องเที่ยวโดยชุมชนในกลุ่มประเทศอาเซียน และ 9) การท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์
ABSTRACT:
แทงบอล ซอคเกอร์ลีก คะแนนฟุตบอลThis study aimed to synthesize the related research in the realm of community based tourism (CBT) in Thailand. It also explored the key gaps in knowledge for further studies. Secondary data both qualitative and quantitative were gathered between January and February 2017 from online academic databases and analyzed based on descriptive statistics and content analysis. The findings revealed that the total number of 240 published papers on CBT in Thailand have been identified. The research was conducted mostly in 2015 and focused mainly on the local communities in the north of Thailand. Under the study of CBT, management and development as well as community participation were the major focus. In each period, the direction and an increasing number of the relevant studies are consistent with the growth of CBT and its dramatic increase in Thailand. The review findings suggest that further research is required on 1) CBT Marketing and visitors 2) CBT Hospitality and services 3) CBT Knowledge sharing 4) CBT Knowledge transfer 5) CBT Monitoring and assessment 6) CBT Management by lessons learned 7) CBT in Protected areas 8) CBT Initiatives throughout ASEAN countries and 9) Creative CBT.