
ปัจจัยสิ่งแวดล้อมทางกายภาพต่อการเลือกที่ตั้งถิ่นฐานในยุคก่อนประวัติศาสตร์พื้นที่ลุ่มน้ำป่าสักตอนกลางถึงตอนล่าง
Physical Environment for Settlement Suitability in the Prehistoric Period: Middle to Lower Pasak Watershed
โดย ดร.ชุติพงศ์ ร่มสนธิ์ / By Dr.Chutipong Romsonthi
Damrong Journal, Vol 17, No.2, 2018
บทคัดย่อ:
บทความนี้มุ่งเน้นศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสิ่งแวดล้อมทางกายภาพและการกระจายเชิงพื้นที่ของแหล่งโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ในพื้นที่ลุ่มน้ำป่าสักตอนกลางถึงตอนล่างโดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
(Geographic Information System: GIS) ด้วยเทคนิควิเคราะห์เชิงพื้นที่
(spatial analysis) ร่วมกับการวิเคราะห์ทางสถิติ
เพื่อศึกษาปัจจัยต่างๆ
ที่มีอิทธิพลต่อการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์
โดยนำปัจจัยสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ได้แก่ 1) ระดับความสูงภูมิประเทศ
(elevation)
2) ความลาดชัน (slope) 3) ทิศด้านลาด (aspect)
4) ความอุดมสมบูรณ์ของดิน (soil fertility) และ
5) ระยะห่างจากทางน้ำ (stream distance) มาวิเคราะห์ความสัมพันธ์กับตำแหน่งแหล่งโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์
ด้วยการกำหนดและจัดลำดับสมัยย่อยของวัฒนธรรมยุคก่อนประวัติศาสตร์
ประกอบด้วยสมัยย่อยที่ 1 (3,300 ถึง 3,000 ปีมาแล้ว) สมัยย่อยที่ 2 (2,900 ถึง 2,800 ปีมาแล้ว) สมัยย่อยที่
3 (2,300 ถึง 1,600 ปีมาแล้ว) และสมัยย่อยที่ 4 (1,600 ถึง 1,500 ปีมาแล้ว) ซึ่งผลการวิเคราะห์แสดงอยู่ในรูปแบบของความน่าจะเป็นในการพบแหล่งโบราณคดีของแต่ละปัจจัยสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ
ผลการวิเคราะห์บ่งชี้ว่า ปัจจัยด้านความอุดมสมบูรณ์ของดิน ความลาดชัน
ระดับความสูงภูมิประเทศ
และระยะห่างจากทางน้ำมีอิทธิพลต่อการเลือกที่ตั้งถิ่นฐานมากที่สุดเรียงตามลำดับ
นอกจากนี้ผลการศึกษาพบว่ามนุษย์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์มีแนวคิดในการเลือกที่ตั้งถิ่นฐานไม่แตกต่างจากมนุษย์ในยุคปัจจุบัน
ที่นิยมตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ต่ำซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ของดินสูง
มากกว่าในพื้นที่สูง
ABSTRACT:
This paper aimed to study the relationship between physical environment factors and archeological sites in the middle to lower area of the Pasak watershed using the geographic information system (GIS). Spatial analysis techniques and statistical methods were used to analyze the influence of physical environmental factors for settlement suitability of prehistoric humans. The physical environment factors including 1) elevation, 2) slope, 3) aspect, 4) soil fertility and 5) stream distance were used in a correlated analytical study with archeological sites which covered period 1 (3,300 - 3,000 BP), period 2 (2,900 - 2,800 BP) period 3 (2,300 - 1,600 BP) and period 4 (1,600 - 1,500 BP). Each of the correlation results between physical environment factors and archeological sites were derived a probability value of an occurred archeological site. The probability values of the archeological sites were analyzed to explain the suitability of prehistoric archeological sites. The results indicated that soil fertility was the most significant factor and slope, elevation and stream distance were consecutively significant factors for settlement suitability. Furthermore, this study also noted that the settlement selection decisions of prehistoric humans were similar to modern humans. The settlement selection decisions show that they preferred to settle in the low terrain areas rather than in the high terrain areas which is consistent with high soil fertility that was usually found in the low terrain areas.