
ทุนวัฒนธรรมไทยทรงดำ กับการเปลี่ยนผ่านยุคสมัยของชุมชน
CULTUTRAL CAPITAL OF THE THAI SONG DAM AND TRANSFORMATION OF THE COMMUNITY
โดย เรณู เหมือนจันทร์เชย / By Renu Muenjanchoey
Damrong Journal, Vol 12, No.2, 2013
บทคัดย่อ:
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา “ทุนวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนากลุ่มชาติพันธุ์ไทยทรงดำในจังหวัดนครปฐม” มีความประสงค์ที่จะศึกษาลักษณะการสืบสานทุนวัฒนธรรมไทยทรงดำในพื้นที่ศึกษาผ่านยุคสมัยต่างๆ นับตั้งแต่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ศึกษา โดยเก็บข้อมูลภาคสนามที่บ้านเกาะแรต บ้านไผ่หูช้าง บ้านดอนขมิ้น และบ้านแหลมกะเจา 2 ผลการศึกษาพบว่าลักษณะทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมที่เข้ามาในบริบทชุมชนในยุคสมัยต่างๆ เป็นเหตุปัจจัยให้ทุนวัฒนธรรมไทยทรงดำในพื้นที่ศึกษาบางส่วนปรับตัว เปลี่ยนแปลง เช่น วัฒนธรรมข้าว วัฒนธรรมการบริโภค วัฒนธรรมการอยู่อาศัย วัฒนธรรมการแต่งกาย วัฒนธรรมภาษา (ในคนรุ่นใหม่) ไปเป็นลักษณะเดียวกับวัฒนธรรมไทยโดยทั่วไป บางส่วนปรับตัว เปลี่ยนแปลงไม่มาก เช่น วัฒนธรรมความเชื่อผีบรรพบุรุษวัฒนธรรมครอบครัวและเครือญาติ วัฒนธรรมที่เกี่ยวกับโลกทัศน์และชีวทัศน์วัฒนธรรมภาษา (ในคนรุ่นเก่า) ยังคงสื่ออัตลักษณ์กลุ่มชาติพันธุ์ไว้ได้อย่างโดดเด่นในปัจจุบัน และเป็นทุนวัฒนธรรมที่เป็นรากฐานเสริมสร้างคุณค่า พลัง และความสุขในการเปลี่ยนผ่านยุคสมัยของชุมชนพื้นที่ศึกษาสืบต่อไป
ABSTRACT:
This article is a part of the study entitled “Cultural Capital and Thai Song Dam Ethnic Group’s Development in Nakhon Pathom Province”. The focus of the study was on the inheritance of Thai Song Dam Community’s cultural capital through chronological transformation, starting from the early period of immigration into the study area. According to the field survey conducted in the four villages, namely Ban Ko Rat, Ba Phai Hu Chang, Ban Don Khamin and Ban Laem Kachao 2, it was found that the economic, social and cultural factors in the chronological contexts resulted in adaptations and changes to the Community’s cultural capital in two different aspects. That is, a higher level of adaptation and change was identified in the rice culture, the consumer culture, the dwelling culture, the clothing culture and the linguistic culture among the new generation. On the other hand, culture related to ancestral spirits, families and kinships, worldviews and attitudes, and language underwent a lower level of adaptations and change among the older generation. Therefore, the latter generation continues to outstandingly represent their ethnic identity up to the present time, and is regarded as the Community’s strong cultural capital that has enhanced value, power and happiness for further chronological transformation.