
มานิ (ซาไก) ชนพื้นเมืองในภาคใต้ของไทย
Maniq (Sakai) The Indigenous People of Southern Thailand Emeritus Prof.Suwilai Premsrirat and Chumpol Pothisarn
โดย ดร. สุวิไล เปรมศรีรัตน์ และ ชุมพล โพธิสาร / By Dr. Suwilai Premsrirat, Chumpol Pothisarn
Damrong Journal, Vol 14, No.1, 2015
บทคัดย่อ:
บทความนี้ เป็นบทความที่นำเสนอข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์มานิ (ซาไก) ด้านภาษาและวัฒนธรรม วิถีชีวิตความเป็นอยู่ การตั้งถิ่นฐานและรูปแบบทางสังคมชุมชนของมานิในเทือกเขาบรรทัด บริเวณ จ. ตรัง สตูลและพัทลุง รวมถึงหลักฐานการตั้งถิ่นฐานที่แสดงให้เห็นว่ากลุ่มชาติพันธ์มานิ ได้อาศัยอยู่ในประเทศไทยมาแต่ดั้งเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเสนอหลักฐานข้อมูลทางภาษาศาสตร์ ด้านลักษณะทางภาษาที่แสดงถึงความสัมพันธ์กับภาษากลุ่มอื่นๆ รวมทั้งหลักฐานร่องรอยที่ปรากฏในวรรณคดีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มชาติพันธุ์มานิ ข้อมูลทั้งหมดนี้ได้มาจากการรวบรวมข้อมูลเอกสารและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องและจากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลภาคสนาม วัตถุประสงค์ของบทความนี้นอกจากจะนำเสนอข้อมูลทางวิชาการแล้วยังมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นข้อมูลที่สนับสนุนการดำรงอยู่มาช้านานของมานิประเทศไทยเพื่อประกอบการจัดทำนโยบายในการจัดการปัญหาสถานะบุคคลตามกฎหมายไทยต่อฝ่ายทะเบียนราษฎร์อีกด้วย
ABSTRACT:
This paper presents background information on the Maniq, a hunter-gatherer culture inhabiting the Banthad Mountains of Trang, Satun and Patthalung Province in Southern Thailand. Linguistic data reveals unique characteristics of the Maniq language and their interrelationship with other ethnic groups and also provides evidence of their culture, way of life, settlement and social patterns. The data was involved relevant documents and literature as well as field notes. Evidence reveals that the Maniq have existed as an indigenous group in bordering region of Thailand since ancient times and formal acknowledgement of their status as a recognized ethnic group in Thailand entitles them to the same rights, privileges, and the support of the government as is available to all Thai citizens. The registration process has confirmed them as Thai nationals.