
รูปเหมือนบุคคล ก่อนสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4)
The portraits before the reign of King Rama IV
โดย ปภาณิน เกษตรทัต / By Papanin Kasettratat
Damrong Journal, Vol 12, No.2, 2013
บทคัดย่อ:
รูปเหมือนบุคคลก่อนสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นตัวอย่างสำคัญของงานศิลปกรรมในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของการเปลี่ยนแปลงจากประติมากรรมแบบอุดมคติไปสู่แบบสมจริง รูปเหมือนบุคคลกลุ่มนี้มีทั้งหมด 6 รูป เป็นรูปของพระสงฆ์ที่สำคัญ และฆารวาสที่เผาตัวเพื่อต้องการบรรลุโพธิญาณ
รูปแบบศิลปะของรูปเหมือนบุคคลในระยะแรก คือ ช่วงรัชกาลที่ 2-ต้นรัชกาลที่ 3 พยายามสร้างให้มีรายละเอียดเหมือนมนุษย์ คือแสดงลักษณะตามหลักของสรีระวิทยามนุษย์ของร่างกายส่วนบนแล้ว ใบหน้าแสดงโหนกคิ้ว โหนกแก้ม รอยย่นของกล้ามเนื้อ ส่วนคอมีเส้นเอ็น กระดูกไหปลาร้า แต่ยังไม่ะเอียดเท่ากับรูปเหมือนบุคคลในช่วงปลายรัชกาลที่ 3 ซึ่งมีความสมจริงยิ่งขึ้น กระแสความนิยมศิลปะแบบสมจริงนี้ยังสอดคล้องกับศิลปะแขนงอื่นๆ ด้วย เช่น งานจิตรกรรมและวรรณกรรม
ด้านคติในการสร้าง ถึงแม้ว่ารูปแบบของประติมากรรมบุคคลกลุ่มนี้จะแสดงความสมจริงดังที่ได้กล่าวไปแล้ว แต่สาระของประติมากรรมไม่ได้ต่างไปจากรูปสมมุติเลย นั่นคือมีจุดมุ่งหมายในการสร้างเพื่อที่จะใช้เป็นรูปเคารพ โดยเชื่อว่ารูปเหมือนเหล่านี้มีพลังศักดิ์สิทธิ์ที่สามารถให้คุณโทษแก่ผู้บูชาได้
ABSTRACT:
Sculptures before the reign of King Rama IV are generally selfportraits of monks. They were significant examples of the changes to Thai sculpture from traditional, idolized representative images to the realistic images.
The styles of early portraits (during King Rama II-early King Rama III period) showed human anatomy such as protruding eyebrows, cheekbones, muscles, neck ligaments and clavicle fractures but they still have less detail than the portraits in the late Rama III period. This realistic trend not only exists in Thai sculpture, but also paintings and literature as well.
Despite being created realistically, these types of images serve as an object of worship as the people believed that these sculptures can bless the people who worship them.