
การศึกษาเพื่อกำหนดอัตลักษณ์พิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น
A STUDY FOR THE MUSEUM INDENTITY OF KHO KAEN NATIONAL MUSEUM
โดย ปาจารีย์ วิลัยปาน / By Paphakorn Boonprasit
Damrong Journal, Vol 10, No.1, 2011
บทคัดย่อ:
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเพื่อทดลองหาวิธีการที่เหมาะสมในการกำหนดอัตลักษณ์พิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น โดยมีขั้น ตอนในการศึกษา ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาเอกสาร ทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ขั้นตอนที่ 2 คัดเลือกกลุ่มประชากรศึกษา ในการสร้างแบบสอบถาม
ขั้นตอนที่ 3 สร้างแบบสอบถามและเกบ็ แบบสอบถามเพื่อเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ
ขั้นตอนที่ 4 เก็บข้อมูลจากนักวิชาการและผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านพิพิธภัณฑ์ โบราณคดี และประวัติศาสตร์ศิลปะ เพื่อเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ
ขั้นตอนที่ 5 สรุปอัตลักษณ์พิพิธภัณฑ์ ผลการศึกษาที่ได้พบว่าอัตลักษณ์พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่นมี 2 ลักษณะ คือ อัตลักษณ์เดี่ยว คือ ใบเสมาหินทรายพิมพาพิลาป และอัตลักษณ์กลุ่มซึ่งเป็นอัตลักษณ์เชิงนามธรรม คือ ความเป็นพิพิธภัณฑ์ด้านประวัติศาสตร์โบราณคดี ที่มีกลุ่มวัฒนธรรมหรือศิลปะทวารวดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีความโดดเด่นและมีใบเสมาหินทรายเป็นศิลปกรรมที่เป็นหลักฐานที่สำคัญ ในวัฒนธรรมหรือศิลปะทวารวดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีใบเสมาหินทรายพิมพาพิลาปเป็นโบราณวัตถุชิ้นหลักของกลุ่ม วัฒนธรรมและเป็นอัตลักษณ์เดี่ยวของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ขอนแก่น
ABSTRACT:
This study for the ‘Museum Identity’ of Khon Kaen National Museum is a method to identify the Museum Identity of Khon Kaen National Museum. The first methodology is documentation and research review. The second is sampling a group of the population in the questionnaire. The third method is creating a questionnaire and using it in a field study for quantitative data. The forth method is collecting data from a museum archaeology and art history specialist for qualitative data. Concluding the Museum Identity is the last step.
The results show that, Khon Kaen National Museum has two groups of Museum Identity. The first is a single identity regarding the ‘Boundary marker sandstone’ depicting Buddha’s life scene “Weeping-Pimpa”, and the second group identity is known as the archaeological museum that includes the North-East Dvaravati culture which is outstanding and has a ‘Boundary marker sandstone’ as important evidence in North-East Dvaravati culture. The Boundary marker sandstone depicting Buddha’s life scene “Weeping-Pimpa” is the main antique of the group’s culture, and it is the single museum identity of Khon Kaen National Museum.