
การจัดการคลังโบราณวัตถุทางโบราณคดี พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ กรุงเทพมหานคร
A MANAGEMENT OF THE STORAGE ROOM FOR ARCHAEOLOGICAL ARTIFACTS: MUSEUM SIAM, BANGKOK
โดย วิไลวรรณ อยู่ทองจุ้ย / By Wilaiwan Youthongchui
Damrong Journal, Vol 10, No.1, 2011
บทคัดย่อ:
คลังพิพิธภัณฑ์เป็นสถานที่เก็บรวบรวมหลักฐานและเป็นแหล่งค้นคว้าข้อมูลสำคัญในการศึกษาวิจัยทางด้านต่างๆรวมถึงเป็นแหล่งเรียนรู้รูปแบบหนึ่งในสังคม หากมีการจัดการคลังพิพิธภัณฑ์ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับลักษณะของพิพิธภัณฑ์และใช้ประโยชน์จากวัตถุสะสมอย่างต่อเนื่อง คลังพิพิธภัณฑ์สามารถตอบสนองความต้องการของสังคมและมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ปัจจุบันการจัดการคลังและโบราณวัตถุยังประสบปัญหาเรื่องของแนวทางการจัดการโบราณวัตถุและรูปแบบที่คลังพิพิธภัณฑ์ที่เหมาะสมกับพื้นที่ตามความต้องการของผู้เกี่ยวข้อง ซึ่งผู้เขียนเห็นว่าเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการจัดการคลังพิพิธภัณฑ์หรือคลังโบราณวัตถุ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์นำเสนอผลการศึกษา เพื่อหารูปแบบและแนวทางที่เหมาะสมสำหรับการจัดการคลังโบราณวัตถุทางโบราณคดีภายในพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ กรุงเทพมหานครโดยใช้ข้อมูลการศึกษาประเภทโบราณวัตถุตัวอย่างการจัดการคลังพิพิธภัณฑ์ทั้งในและต่างประเทศและข้อมูลจากผู้เกี่ยวข้อง
ผลการศึกษาพบว่ารูปแบบการจัดการคลังโบราณวัตถุที่เหมาะสมคือ การจัดการคลังโบราณวัตถุเพื่อการเรียนรู้และการอนุรักษ์สำหรับให้ข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งโบราณคดีกระทรวงพาณิชย์ (เดิม) โดยมีการจัดแบ่งพื้นที่แล้วแนวทางการจัดการออกเป็น 3 ส่วน คือ 1) ส่วนพื้นที่การเรียนรู้ 2) ส่วนพื้นที่การอนุรักษ์โบราณวัตถุ 3) ส่วนคลังโบราณวัตถุ อันเป็นรูปแบบและแนวทางที่มุ่งเน้นให้สามารถนำไปปฏิบัติได้จริงกับคลังโบราณวัตถุทางโบราณคดี พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ
ABSTRACT:
A ‘museum storage room’ is a place to collect evidence and sources and to research the importance of research in various fields. As well as a learning resource in the form, if a museum inventory is accurate and appropriate to the nature of the museum, it could take advantage of the accumulated material continuously. Nevertheless, problems about the current ‘inventory management’ and artifacts still remain regarding the guidelines for the management of such artifacts and museum storage formats in relation to the area concerned. The author believes that these guidelines should be considered in the study of museum storage management.
This paper reports on the model for the appropriate formats and guidelines for the management of the storage room for the archaeological objects at Museum Siam, Bangkok. This model for learning and conserving suggests that a storage room should comprise of three sections. The first section is a learning area for exhibitions and learning activities. The second section is a conservative area for studying conservation methods while the third is a restricted storage room.