
อวทาน : ความศรัทธาแด่พระพุทธองค์
AVADANA: FAITH IN THE BUDDHA
โดย สุมาลี ลิ้มประเสริฐ / By Sumalee Limprasert
Damrong Journal, Vol 7, No.2, 2008
บทคัดย่อ:
บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อรายงานผลการศึกษาลักษณะเฉพาะของโครงเรื่องอวทาน จำนวน 50 เรื่องในอวทาน-กัลปลตาของเกษเมนทระ โดยการศึกษาข้อมูลดังกล่าวนี้ ผู้เขียนได้ใช้วิเคราะห์เรื่องเล่าประกอบกับทฤษฎีโครงสร้างนิทานของวลาดิมีร์ พรอพพ์
อวทานและชาดกนั้นแม้จะเป็นเรื่องเล่าเหมือนกัน แต่มีความแตกต่างกัน ขณะที่ชาดกบาลีส่วนใหญ่มีการเล่าเรื่องไม่แตกต่างกัน คือเล่าถึงแนวปฏิบัติของพระพุทธองค์ในอดีตชาติที่สมควรเป็นแบบอย่างแก่คนทั่วไป ส่วนอวทานเป็นเรื่องราวที่พระพุทธองค์เล่าถึงกรรมดีและกรรมชั่วในอดีตชาติของบุคคลอื่น และเน้นผลของกรรมดีและกรรมชั่วที่สืบเนื่องมาถึงชาติต่อมา โดยที่อวทานส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่พระพุทธองค์ทรงเป็นผู้เล่าในสมัยพุทธกาล แต่ก็มีอวทานบางเรื่องที่มีเหตุการณ์เกิดขึ้นหลังสมัยพุทธกาล ในบรรดาอวทานเหล่านี้ มีเรื่องการศรัทธาต่อพระพุทธองค์ พร้อมทั้งการได้เห็นพระพุทองค์เป็นส่วนสำคัญในเรื่อง
ผลการศึกษาอวทานในอวทาน-กัลปลดาแสดงให้เห็นว่า อวทานที่มีเหตุการณ์เกิดขึ้นในสมัยพุทธกาลจะมีพระพุทธองค์ทรงเป็นผู้เล่าเรื่องแบบพยานผ่านการหยั่งรู้และมี “การศรัทธา” เป็นพฤติกรรมหลักของเรื่อง ซึ่งจะนำไปสู่การเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ ส่วนอวทานที่มีเหตุการณ์เกิดขึ้นสมัยหลังพุทธกาล พฤติกรรมหลักยังคงเป็น “การศรัทธา” แต่ผ่านการยึดมั่นในพุทธธรรมที่จะส่งผลดีตามมา
อาจกล่าวได้ว่า การศรัทธาต่อพระพุทธองค์นั้นเป็นส่วนสำคัญของอวทานและส่งผลให้เกิดการปรารถนาที่จะได้เข้าเฝ้าพระพุทธองค์ แม้จะเป็นอวทานที่มีเหตุการณ์เกิดขึ้นหลังสมัยพุทธกาล ตัวละครหลักที่บรรลุธรรมขั้นสูงแล้ว ก็ยังปรารถนาที่จะได้เข้าเฝ้าพระพุทธองค์ สรุปได้ว่าอวทานที่เป็นวรรณคดีพุทธศาสนาของกลุ่มที่แยกจากเถรวาทนี้เน้นการศรัทธาที่พระพุทธองค์มากกว่าที่พระธรรมของพระองค์ เพื่อแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงความเชื่อที่ว่าการศรัทธาพระพุทธองค์จะนำความเปลี่ยนแปลงที่ดีมาสู่ชีวิต
ABSTRACT:
The purpose of this article is to provide a report on a Study of the plots of the Fifty Avadanas, as detailed in Kshemendra’s Avadana-Kalpalata. The study employed the data contained within the Fifty Avadanas to conduct a narrative analysis in terms of V.L. Propp’s Structure of Folktale Theory.
Although Jatakas and Avadanas are both Buddhist stories, they are not exactly alike. Whereas the Pali Jatakas almost invaliably describe the exemplary conducts of the Buddha during this past existence, the Avadanas are generally stories in which the Buddha relates the good and bad deeds of others, posthumously. Most of these Avadanas were supposed to have originated from the Buddha himself, during his mortal lifetime, however, there are a few Avadanas which are told to have originated after the Buddha’s Parinirvana and in these tales faith in the Buddha, either previously and independently acquired of acquired under the persuasive influence of the Buddha’s personality, plays a strong part.
The analysis shows that the Avadanas in Avadana-Kalpalata, in which the Buddha acts as the witness and narrator, put a lot of emphasis on ‘faith’ as the key element (‘function’ in Propps’ terminology) of the story, thus leading to an audience with the Buddha. In other Avadana stories, which are supposed to take place after Buddha transcends life, the key elements are (again); faith, followed by observing the Buddhist dharma and obtaining good consequences out of such observance.
It may be said that faith in Buddha is the key element of the Avadana stories, and that the desire to have an audience with the Buddha will naturally follow. Even in post-Buddha Avadana stories the major characters, who have obtained higher dharma, still wish to have an audience with the Buddha. From the above it is possible to conclude that the Avadanas, of the Buddhist sects that have separated themselves from the Theravada Buddhist Sangha, put more emphasis on faith in the Buddha than on the Buddhist dharma, They do so because they are strongly convinced that faith in Buddha will bring superior transformation into their life.