
กู-มึง : วัยรุ่นไทยกับความเป็นอิสระจากกฎระเบียบในการใช้ภาษา
KU AND MUNG: THAI TEENAGERS AND INDEPENDENCE FROM PRESRIPTIVE LANGUAGE USAGE
โดย พรพิมล เสนะวงศ์ / By Pornpimol Senawong
Damrong Journal, Vol 10, No.2, 2011
บทคัดย่อ:
การใช้ภาษาของวัยรุ่นไทยในปัจจุบัน สะท้อนให้เห็นความต้องการที่จะเป็นอิสระจากระเบียบกฎเกณฑ์การใช้ภาษาที่กำหนดไว้ในตำราหนังสือไวยากรณ์ ดังเช่นตัวอย่างของการใช้สรรพนาม กู-มึง ที่ถูกกำหนดว่าเป็นสรรพนามที่ไม่สุภาพ แต่จากการศึกษาเอกสารและงานวรรณกรรมที่มีการใช้สรรพนามสองตัวนี้ก็ไม่ได้มีการให้เหตุผลว่าทำไม กู-มึง จึงถูกกำหนดว่าไม่สุภาพ และถึงแม้ว่า กู-มึง จะไม่สุภาพ แต่สิ่งที่วัยรุ่นต้องการคือภาษาที่จะใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารระหว่างวัยรุ่นด้วยกันได้อย่างรวดเร็วทันใจ และตอบสนองความต้องการให้จะให้การสื่อสารนั้นช่วยกระตุ้นความสามัคคีความรักใคร่กันในหมู่พวกเดียวกัน และช่วยเหลือกันในยามที่จำเป็น ทำให้ทุกคนให้กลุ่มมีความอุ่นใจว่าตัวเองมีพรรคพวก ไม่ได้อยู่โดดเดี่ยวตามลำพัง ภาษาที่ใช้ภายในกลุ่มอาจเป็นภาษาที่คนนอกกลุ่มเห็นว่าไม่สุภาพหรือหยาบคาย สำหรับวัยรุ่นแล้วการแสดงออกด้วยภาษาในลักษณะเช่นนี้มีความสำคัญและมีความหมายมากกว่าการแสดงออกด้วยความสุภาพ
ABSTRACT:
The language used by Thai teenagers nowadays reflects their need to be independent from rules and regulations prescribed in grammar books. As far as pronouns are concerned, ku and mung are stigmatized as being “impolite” without any further explanation. Teenagers want to communicate quickly, to activate group solidarity and to help each other when trouble arises. Outsiders may judge the language they use within the group or among themselves as “rough” or “impolite”. Teenagers, on the other hand, do not consider the language they use as impolite. For teenagers, the language they use within their groups is a language of solidarity. It is more important and meaningful to them than politeness.