
การจัดการทรัพยากรทางโบราณคดีของชุมชนทุ่งม่าน ตำบลเวียงกาหลง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย
WIANG KALONG CERAMIC ARTISANS: FROM LOOTERS TO CONSERVATIONISTS
โดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์ / By Penrung Suriyakan
Damrong Journal, Vol 9, No.2, 2010
บทคัดย่อ:
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจการจัดการทรัพยากรทางโบราณคดีของชุมชนทุ่งม่านตำบลเวียงกาหลงอำเภอเวียงป่าเป้าตั้งแต่ พ.ศ. 2520-2552 โดยศึกษาเก็บข้อมูลจากผู้จัดการที่เป็นคนในชุมชนทุ่งม่าน 2 กลุ่ม คือ กลุ่มศิลปินที่ผลิตเครื่องปั้นดินเผาเวียงกาหลงสืบสานภูมิปัญญาโบราณและกลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และโบราณคดีป่าแม่เฮียวเวียงกาหลง โดยใช้แนวคิดการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรมเป็นแนวทางในการเก็บข้อมูลจากเอกสารและความทรงจำหรือความคิดเห็นของผู้จัดการในชุมชนแล้วนำมาวิเคราะห์หารูปแบบของการจัดการทรัพยากรทางโบราณคดีในแต่ละครั้งว่ามีบริบทวิธีคิดการดำเนินการ รวมถึงผลการจัดการอย่างไรบ้าง
การวิจัยพบว่าการจัดการทรัพยากรทางโบราณคดีของชุมชนทุ่งม่านมีวิธีคิดและกระบวนการ จัดการที่เปลี่ยนแปลงไปตามบริบทในแต่ละช่วงเวลา ผู้จัดการกลุ่มศิลปินสืบสานภูมิปัญญาโบราณในการผลิตเครื่องปั้นดินเผาเวียงกาหลงมีวิธีคิดและวิธีการจัดการ 2 รูป แบบ คือ ใน ช่วง พ.ศ. 2525 - ก่อน พ.ศ.2530 มีกระแสความต้องการสะสมโบราณวัตถุเวียงกาหลงจากภายนอกพ้องกับความยากจนและความไม่รู้ทำให้ผู้จัดการคิดว่าตนเองไม่ใช่เจ้าของเตาและโบราณวัตถุเวียงกาหลงซึ่งมีคุณค่าเชิงมูลค่าเพียงอย่างเดียวเกิดรูปแบบการจัดการแบบขุดหาโบราณวัตถุขาย(พ.ศ. 2525-2528) ทำให้ผู้จัดการได้รายได้ตอบแทนแต่ไม่ยั่งยืนเพราะทรัพยากรถูกทำลายในช่วงพ.ศ. 2530 - ปัจจุบัน วิธีคิดมีความเปลี่ยนแปลงเป็นมองว่าทรัพยากรเป็นสมบัติของตนเองและชุมชนรู้สึกผูกพันและเห็นคุณค่าที่หลากหลาย เกิดการจัดการเพื่อใช้ประโยชน์ ไปพร้อมๆกับการอนุรักษ์ความดั้งเดิมคือการรื้อฟื้นภูมิปัญญาโบราณเพื่อผลิตเครื่องปั้นดินเผาที่เหมือนโบราณวัตถุจำหน่ายตอบสนองความต้องการโบราณวัตถุเวียง กาหลงตั้งแต่ พ.ศ. 2530 ถึง ปัจจุบัน และการจัดการอนุรักษ์เตาเวียงกาหลง ใน พ.ศ.2550 ถึง ปัจจุบัน เนื่องจากได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับนักวิชาการภายนอกทำให้ผู้จัดการสามารถอนุรักษ์เตาโบราณและใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืน
ผู้จัดการที่อยู่ในกลุ่มอนุรักษ์ ฯ มีวิธีคิดและดำเนินการจัดการทรัพยากรทางโบราณคดี 2 รูปแบบ พ.ศ.2428-2549 ผู้จัดการมีวิธีคิดว่าทรัพยากรไม่มีเจ้าของมีคุณค่าเชิงมูลค่าทำให้เกิดการขุดหาโบราณวัตถุขายเพราะไม่รู้คุณค่าของทรัพยากรและกระแสความต้องการสะสมและศึกษาโบราณวัตถุเวียงกาหลงของคนนอกผลการจัดการทำให้เกิดความตระหนักถึงคุณค่าและได้เรียนรู้ว่าการขุดโบราณวัตถุ ขายเป็นการทำประโยชน์ที่ไม่ยั่งยืนเช่นเดียวกับผู้จัดการกลุ่มแรกงนั้นเมื่อกลุ่มได้รับแนวความคิดเรื่องการจัดการทรัพยากรเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวจากนักวิชาการจากภายนอกตั้งแต่พ.ศ.2549 ทำให้เกิดการ จัดการอนุรักษ์เตาเวียงกาหลงเพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรได้อย่างยั่งยืนตั้งแต่ พ.ศ.2550 จนถึงปัจจุบัน
ABSTRACT:
This study is aimed at assessing and understanding the community-based management processes of archaeological resources at the Wiang Kalong ceramic kiln site which was operated by Ban Thung Mahn local people during 1977-2009. Populations to be studied: (1) ceramic artisans, successful in creating and producing modern Wiang Kalong ceramics; (2) a group of local people responsible for the preservation and conservation of natural and archaeological resources in the Mae Hiew watershed.
The study results showed that during the period of 1982-1987, Wiang Kalong ceramic artisans earned their living by looting archaeological sites for saleable objects. Since 1983 they have gradually changed their concepts and practices to preserve archaeological resources and maintain ceramic history. They also faked ancient Wiang Kalong ceramics for antique collectors and they successfully created and produced modern Wiang Kalong ceramics.
Key persons in the conservation group were also ceramic looters during the earlier who earned their living by growing rice and cultivating orchard plantations, uninvolved with ceramic making. They later realized that looting archaeological sites and selling ancient ceramic objects would not sustain their living, so they stopped looting and tried to preserve the kiln sites, located in their orchards, in association with the preservation of natural forestland.