
การวิเคราะห์ภาพนาฏดุริยางค์ศิลป์ในงานพุทธศิลปะในประเทศไทย
ANALYSIS OF DRAMATIC AND MUSICAL SCENES IN THAI BUDDHIST ART
โดย วิชชุตา วุธาทิตย์ / By Vijjuta Vudhaditya
Damrong Journal, Vol 9, No.2, 2010
บทคัดย่อ:
การวิจัยเรื่องการวิเคราะห์ภาพนาฏดุริยางคศิลป์ในงานพุทธศิลปะในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ภาพนาฏดุริยางคศิลป์ในงานพุทธศิลปะในประเทศไทย ศึกษาเปรียบเทียบความสัมพันธ์ของรูปแบบและคติกับประเทศต่างๆ ศึกษาลักษณะเฉพาะของรูปแบบและคติความหมาย การศึกษาสำรวจได้ค้นคว้ารวบรวมข้อมูลทางเอกสาร เก็บข้อมูลภาคสนามบันทึกภาพถ่ายโบราณสถานและโบราณวัตถุ ในรูปของส่วนประกอบสถาปัตยกรรม ประติมากรรม และจิตรกรรม นำข้อมูลภาพนาฏดุริยางคศิลป์ในงานพุทธศิลปะในประเทศไทยทั้งพุทธศาสนานิกายเถรวาทและนิกายมหายานมาศึกษาวิเคราะห์ อภิปรายผลการวิจัย เปรียบเทียบกับศิลปะอื่นๆ
ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่านาฏดุริยางคศิลป์ในพุทธศิลปะในประเทศไทยมีหน้าที่เป็นพุทธบูชาเพื่อน้อมระลึกถึงพระพุทธคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า งานประติมากรรมใช้เป็นสิ่งเคารพบูชาประกอบพิธีกรรมและเป็นมงคลวัตถุ และใช้เป็นพุทธบูชาเพื่อประดับอาคารเพื่อการเผยแผ่พุทธศาสนา ใช้เป็นเครื่องหมายบอกเขตพุทธาวาสและใช้เป็นภาพลวดลายตกแต่งสิ่งของเครื่องใช้
รูปแบบมีประเภทมีเรื่องราวและไม่มีเรื่องราว ประเภทมีเรื่องราวคือพุทธประวัติ เทพและเทพีในพุทธศาสนา ชาดกและสัตว์ เรื่องพุทธประวัติมีตั้งแต่ตอนประสูติจนถึงเสด็จปรินิพพาน เทพและเทพีได้แก่พระวัชรสัตว์ พระโพธิสัตว์ไตรโลกยวิชัย พระโพธิสัตว์วัชรปาณี พระเหวัชระ นางโยคิณีหรือนางฑากิณี นางอัปสร เทวดา ส่วนชาดกที่เป็นเรื่องทศชาติได้แก่ มหาชนกชาดก ภูริทัตชาดก นารทชาดก วิทูรชาดก และเวสสันดรชาดก ชาดกอื่นคือสุธนชาดก จันคาธชาดก คันนธกุมารชาดก ส่วนประเภทไม่มีเรื่องราวใช้ประดับอาคารและเครื่องใช้ต่างๆ
ในด้านความสัมพันธ์ทางรูปแบบและคติกับศิลปะอื่น พบว่ามีความสัมพันธ์กับอินเดียมากที่สุด นอกจากนี้ยังมีความสัมพันธ์กับศิลปะพม่า ศิลปะอินโดนีเซีย ศิลปะเขมร ทั้งภาพพุทธประวัติ เทพและเทพี ชาดก และแม้ว่าในทางพุทธศาสนาเถรวาทปรากฏความคิดเรื่องศีล โดยเฉพาะศีลข้อที่เจ็ดในอุโบสถศิลที่ให้บุคคลเว้นจากการละเล่นและชมนาฏศิลป์และดนตรี ในทางศิลปะพบว่าภาพพุทธประวัติ นาฏดุริยางคศิลป์เป็นตัวแทนของกิเลสตัณหา ในพุทธศาสนามหายานท่าร่ายรำเป็นตัวแทนของการเอาชนะอวิชชา และยังประกฎเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมทางพุทธศาสนาแบบตันตระ
ABSTRACT:
The dissertation’s objectives are to study and analyze scenes of dance and music appearing in Thai Buddhist art, to comparatively study the relations between specific forms and beliefs that are found in several countries, and to study the characteristics of these forms and their meanings.
The study was conducted by gathering information from documents, archeological sites, architecture, sculptures and paintings. Both Theravada and Mahayana data was included in this analytic study along with references to other kinds of art. The studies have found that the dance and music scenes pay homage to the Lord Buddha, whilst the sculptures are highly respected and are used in ceremonies as auspicious objects. These art objects are utilized in building ornamentation to both spread and introduce Buddhism, as well as to depict the monastic areas and to decorate everyday objects.
These Buddhist objects/artworks are based on the Lord Buddha’s life stories, stories of the Buddhist divine beings, Jatakas, and animals. The Lord Buddha’s story of life is from his birth to his nirvana. The Buddhist divine beings are Vajrasatva, Trailokyavijaybodhisatva, Vajrapanibodhisatva, Hevajra, Yogini or Dakini, Apsara and Devata. Jatakas are normally from the Dasajatijataka i.e. Mahajanakajataka, Bhuridattajataka, Naradajataka, Vidurajataka, and Vessantarajataka, the Jatakas from non-dasajatijataka are Sudhanajataka, Candagadhjataka, Gandhakumarajataka; those of the non-content were normally found to have only decorative function on both buildings and objects. The Buddhist works of art show strong resemblance to Indian art forms, as well as Burmese Art, Indonesian Art and Khmer Art.
Although in the idea of, Silas, Theravada Buddhist precepts, there is an idea, appearing as the seventh precept, to refrain from dancing, singing, music and going to shows. In the Buddha’s story of life, music and dance are represented by Kilesa and Tanha, defilement and craving. In Mahayana Buddhism dancing postures of the angels represent the defeat of Avijja, ignorance, and are found in ceremonies practiced by Tantric Buddhists.