
งานจิตรกรรมฝาผนังช่วงพุทธศตวรรษที่ 24 - 25 ภาพสะท้อนสังคมของกลุ่มชนลุ่มแม่น้ำสะแกรัง อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี
A REFLEXION ON MURAL PAINTINGS OF THE 24th – 25th BUDDHIST ERAS AROUND THE SAKAKRANG RIVER SOCIETY, AMPHOE MUEANG, UTHAI THANI PROVINCE
โดย กวิฎ ตั้งจรัสวงศ์ / By Kawit Tangcharatwong
Damrong Journal, Vol 9, No.2, 2010
บทคัดย่อ:
การศึกษาครั้งนี้ได้ทำการศึกษาแหล่งที่พบงานจิตรกรรมฝาผนังในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี ทั้งหมด 5 วัด ได้แก่ วัดอุโปสถาราม วัดพิชัยปุรณาราม วัดธรรมโฆษก วัดอมฤตวารี และวัดใหม่ จันทราราม โดยสามารถกำหนดอายุได้ประมาณพุทธศตวรรษที่ 24-25 อีกทั้งยังพบว่าในแต่ละวัดก็มีความแตกต่างกันในเรื่องรูปแบบ และเรื่องราว ที่ต่างก๊มีรูปแบบเฉพาะของแต่ละวัดเอง
ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 24-25 นี้ เขตลุ่มน้ำสะแกกรัง มีกลุ่มชาติพันธุ์หลายกลุ่มอพยพเข้ามาตั้งหลักแหล่งอยู่อาศัย ไม่ว่าจะเป็นชาวจีน ชาวลาว กะเหรี่ยง และคนพื้นถิ่น ซึ่งการเข้ามาของแต่ละกลุ่มชนน่าจะส่งผลต่อรูปแบบงานศิลปกรรม รวมทั้งงานจิตรกรรมฝาผนังที่ปรากฏนี้ ยังสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการอธิบายสภาพสังคมในอดีตที่ผ่านมาได้เป็นอย่างดี
จากการศึกษา ได้แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของกลุ่มชาวลาวที่เข้ามา เช่น การเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังด้านนอกอาคาร ที่วัดอุโปสถาราม นอกจากนี้ได้มีการพบงานจิตรกรรมฝาผนังที่น่าจะเป็นอิทธิพลของกลุ่มช่างชาวอีสาน เช่น การเขียนภาพฉากธรรมชาติ และการเลือกเรื่องชาดกเฉพาะเวสสันดรชาดกมาเขียนในอาคาร อีกทั้งยังพบลักษณะเฉพาะของท้องถิ่นเอง เช่น รูปแบบการเขียนภาพเพื่อสร้างบรรยากาศให้ภายในอาคาร เป็นเหตุการณ์พุทธประวัติตอนพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน ซึ่งจากการศึกษายังไม่พบที่ใดมาก่อน
การเปลี่ยนแปลงสภาพสังคมในช่วงรัชกาลที่ 4-5 นี้ ได้เกิดการเขียนเรื่องอย่างใหม่ขึ้นมา เช่น ภาพการไปนมัสการรอยพระพุทธบาทที่สระบุรี ซึ่งเป็นเรื่องประเพณีวัฒนธรรม ภาพอสุภกรรมฐาน 10 เป็นภาพที่การแสดงให้เห็นถึงกิจของสงฆ์ ภาพนิทานพื้นบ้านอย่างภาพเรื่องจันทโครพ เป็นต้น ซึ่งถึงแม้จะมีความคิดอย่างใหม่เข้ามาแล้ว แต่คนในท้องถิ่นก็ยังคงมีความเชื่อดั้งเดิมในเรื่องอิทธิปาฏิหารย์อย่างเรื่องพระมาลัยอยู่
ภาพจิตรกรรมฝาผนังทั้ง 5 วัดนี้ นอกจากจะศึกษารูปแบบและเทคนิคการเขียนแล้ว ยังสามารถสะท้อนวิถีชีวิตความเป็นอยู่ การแต่งกายของกลุ่มคนที่อาศัยในบริเวณลุ่มน้ำสะแกกรัง นอกจากนี้ยังพบภาพที่อธิบายให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของบ้านเมืองในช่วงรัชกาลที่ 4-5 เอาไว้ด้วย เช่น ภาพทหาร ภาพเรือยนต์หรือเรือกลไฟ ภาพปล่องไฟของโรงสีข้าวเป็นต้น
ABSTRACT:
This research covers five temples located in Amphoe Muang, Uthai Thanee province, where mural paintings were discovered: Ubo-satharam temple, Pichai-puranaram temple, Thamma-khosok temple, Ammarit-thavaree temple and Mai-chantharam temple. The temples were built around the 24th - 25th Buddhist era, and each temple has its own unique character and story.
During the 24th - 25th Buddhist eras, several races, including Chinese, Laos, Karieng and local people, had already immigrated and settled around Sakaekrang river. Each ethnic group influenced the style of the mural paintings, representing the state of society at that period in time.
From this study, we can see fine examples of the Laos influence upon mural paintings on the outside wall of Ubo-satharam temple. The mural paintings were influenced by the Northeastern people of Thailand, judging from the natural scenes depicted on the paintings; specifically, chapters about Vessantara Jataka which are painted inside the building. In addition, Laotian local people are clearly recognizable depicted in the painting visible when entering Mahaniravana—of the Lord Buddha’s life, which has never been found anywhere else.
The social revolution during the reigns of King Rama IV and King Rama V introduced new painting themes, for instance: the story depiction of worship of Buddha's footprint, at Saraburee province, which is about traditional culture; the ten Asupa-kammathan images, which represent the monk’s duties; the Chantakolop folktale story depiction. Even though, the new painting themes were fully developed, it can be interpreted that the local people still maintained their original beliefs in supernatural miracles such as the story of the Malai monk.
All of these mural paintings at the five temples provide tremendous opportunities for study by future generations, especially areas such as: characteristics, painting techniques, lifestyle, the costume styles of the people around Sakaekrang River and the social revolution during the reigns of King Rama IV and King Rama V which include images of motorboats, steamships and the rice mill chimneys.