
ข้อคิดเห็นใหม่ : ลำดับอายุสมัยของลวดลายเขียนสีแดงบนภาชนะในหลุมฝังศพสมัยปลายที่วัดโพธิ์ศรีใน แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี
NEW OPINION: CHRONOLOGY OF RED PAINTED DESIGNS ON POTTERY IN LATE BAN CHIANG BURIAL SITES AT WAT PHOSRI NAI, BAN CHIANG, UDON THANI PROVINCE.
โดย อัตถสิทธิ์ สุขขำ / By Atthasit Sukkham
Damrong Journal, Vol 5, No.2, 2006
บทคัดย่อ:
บทความนี้นำเสนอผลการศึกษาการตกแต่งภาชนะดินเผาด้วยลวดลายเขียนสีแดงที่พบในหลุมฝังศพบ้านเชียงสมัยปลายจากการขุดค้นที่วัดโพธิ์ศรีใน ซึ่งตั้งอยู่ที่หมู่บ้านบ้านเชียง ตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี โดยมีเนื้อหาของบทความครอบคลุมข้อมูลการศึกษาลวดลายเขียนสีแดงบนผิวภาชนะดินเผาของแหล่งโบราณคดีบ้านเชียงที่ผ่านมาในอดีต ซึ่งเป็นข้อมูลพื้นฐานและยังเป็นที่มาของแนวคิดในการศึกษาครั้งนี้
ผลการศึกษาพบว่า ลวดลายเขียนสีแดงบนตัวอย่างภาชนะดินเผารูปทรงต่างๆ จากการขุดค้นที่วัดโพธิ์ศรีใน สามารถแบ่งลวดลายได้ถึง 89 ลวดลายโดยจัดกลุ่มได้ 5 ลักษณะใหญ่ นอกจากนี้ยังพบว่าลวดลายเขียนสีแดงมีการเปลี่ยนแปลงไปตามระยะต่างๆ 5 ครั้ง
ABSTRACT:
This paper aims at presenting the results of a study on red painted disigns found on pottery in the Late Ban Chiang burial sites that were excavated from Wat Phosri Nai, Ban Chiang, Amphoe Nong Han, Udon Thani Province. This study was based on the previous studies on pottery designs at Ban Chiang archaeological sites.
The results of the study showed that the red painted patterns on the pottery can be divided into 89 different designs and categorized into 5 groups. Moreover, red painted designs changed 5 different times during the Late Period of Ban Chiang culture.