
พัฒนาการของชุมชนโบราณบริเวณรอบเข้าพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์
THE DEVELOPMENT OF ANCIENT COMMUNITIES SETTLED DOWN AT PHNOM RUNG, BURIRAM PROVINCE
โดย ปรียานุช จุมพรม / By Preeyanuch Jumprom
Damrong Journal, Vol 5, No.2, 2006
บทคัดย่อ:
ในการสำรวจชุมชนโบราณบริเวณรอบเขาพนมรุ้งพบร่องรอยหลักฐานทางโบราณคดีของชุมชนโบราณจำนวน 46 แห่ง ในระยะรัศมี 10 กิโลเมตรรอบเขาพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งอาจสรุปพัฒนาการทางวัฒนธรรมของชุมชนโบราณได้ว่า มีการเข้ามาอยู่อาศัยในบริเวณนี้ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย ราว 2,000-1,500 ปีมาแล้ว ลงมาจนถึงสมัยประวัติศาสตร์ตอนต้นร่วมสมัยทวารวดี อายุราวพุทธศตวรรษที่ 12-14 ต่อมาราวพุทธศตวรรษที่ 15 เมื่ออิทธิพลวัฒนธรรมเขมรสมัยเมืองพระนครได้แพร่กระจายเข้ามา จึงมีการเข้ามาอยู่อาศัยในบริเวณนี้มากขึ้น และที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้นคือ อิทธิพลวัฒนธรรมเขมรที่แพร่กระจายเข้ามานั้น ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมละวัฒนธรรมหลายๆ ด้าน เช่น รูปแบบการตั้งถิ่นฐานและการจัดการทรัพยากรน้ำ นอกจากนี้ ยังมีการก่อสร้างศาสนสถานที่เรียกว่าปราสาทขึ้นในชุมชนต่างๆ และบนเข้าพนมรุ้ง ซึ่งในเวลานั้นศาสนสถานบนเข้าพนมรุ้งซึ่งเป็นเทวสถานเนื่องในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย คงจะเป็นศุนย์กลางทางศาสนาของชุมชนที่อยู่โดยรอบ และเป็นมาอย่างต่อเนื่องจนถึงพุทธศตวรรษที่ 18 ต่อมาเมื่ออาณาจักรเขมรเริ่มเสื่อมอำนาจลง บทบาทของเขาพนมรุ้งในฐานะที่เป็นศูนย์กลางทางศาสนาของชุมชนคงจะค่อยๆ ลดความสำคัญลงและถูกทิ้งร้างไปในที่สุด ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ยังได้พบหลักฐานที่แสดงว่าชุมชนโบราณบางแห่ง เช่น ชุมชนโบราณบ้านกระต่ายตาย ชุมชนโบราณบ้านโคกกะลอ และชุมชนโบราณบ้านโคกเบง ในเขตอำเภอประโคนชัย คงจะมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับศาสนสถานบนเขาพนมรุ้งด้วย หลักฐานดังกล่าวคือ หลักหิน ซึ่งสันนิษฐานว่าอาจจะเป็นหลักหิน ซึ่งสันนิษฐานว่าอาจจะเป็นหลักหินที่ใช้ปักหลักเขตในการกัลปนาที่ดินที่มอบให้แก่เทพเจ้าแห่งเขาพนมรุ้ง ซึ่งจารึกพบที่ปราสาทพนมรุ้งหลายหลักได้กล่าวถึงไว้ นอกจากนี้ การค้นพบหลักฐานประเภทเครื่องถ้วยเขมร ซึ่งพบอยู่ในชุมชนโบราณทุกแห่งที่ได้ทำการสำรวจครั้งนี้ แสดงว่ามีการติดต่อแลกเปลี่ยนระหว่างชุมชนทั้งที่อยู่ในภูมิภาคเดียวกันและอยู่ห่างไกล
ABSTRACT:
The study has revealed the fact that the topography of Phnom Rung was suitable fot the settlements of the ancient communities. There were 46 ancient communities established around Phnom Rung starting from the 7th-9th century A.D. The communities became more crowded during the 10th century A.D. when the Khmer cultures had spread into the area. After the Khmer influences, many cultural changes occurred, such as, the pattern of settlement, water resource management, and religious sanctuaries on Phnom Rung. Phnom Rung was compared to Kailasa which was believed to be the abode of Siva (one of the principal Hindu deities). Phnom Rung Temple therefore, could be regarded as the center of Hinduism (Saivism).
It is assumed that the ancient communities were extremely crowded during the construction of the main building of Phnom Rung. Major evidence that shows the relationship between the communities and Phnom Rung are boundary stones and Khmer ceramics which were found in every community in the study area. Apart from the center of the religion, Phnom Rung maintained the center of the surrounding communities. After the Khmer kingdom was weakened in the 13th century A.S., the role of Phnom Rung as the center of religious activities and communities diminished and finally vanished.