
วิเคราะห์แนวคิดของรัชกาลที่ 4 ที่สะท้อนผ่านจิตรกรรม เรื่อง “อิเหนา” ในพระวิหารหลวง วัดโสมนัสวิหาร
ANALYSIS OF KING RAMA IV’S CONCEPT THROUGH THE MURAL PAINTINGS, THE STORY OF INAO IN VIHARA, WAT SOMANAT WIHAN.
โดย จุฑารัตน์ จิตโสภา / By Chutarat Chitsopa
Damrong Journal, Vol 11, No.2, 2012
บทคัดย่อ:
บทความเรื่องนี้เป็นการศึกษาภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่อง “อิเหนา” ในพระวิหารหลวงวัดโสมนัสวิหาร เพื่อวิเคราะห์หาแรงบันดาลใจที่ส่งผลให้รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้า ฯ ให้นำเรื่องที่เป็นวรรณคดีนิทานมีเนื้อหาประโลมโลกมาเขียนไว้ภายในพระอาราม ประกอบกับการศึกษาเทคนิคและวิธีการแบบตะวันตกที่นำมาใช้ในการเขียนจิตรกรรมโดยตรวจสอบว่าเป็นเทคนิคที่สืบเนื่องมาจากสมัยรัชกาลที่ 3 ใช่หรือไม่ อาศัยวิเคราะห์เทียบเคียงกับจิตรกรรมฝาผนังที่เขียนไว้บนบานแผละประตูหน้าต่างภายในพระอุโบสถ วัดสุทัศนเทพวรารามฯ และจิตรกรรมฝาผนังที่เขียนขึ้นสมัยรัชกาลที่ 4
ผลการศึกษาสรุปได้ว่า เนื่องจากรัชกาลที่ 4 ทรงสนพระทัยด้านการละครโดยเฉพาะอย่างยิ่งละครในเรื่อง “อิเหนา” ซึ่งมีเนื้อหาในตอน “อุณากรรณ”คล้ายคลึงกับพระราชประวัตของสมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี พระอัครมเหสีพระองค์แรกที่สิ้นพระชนม์ไปเป็นเหตุให้พระองค์ทรงโปรดให้นำเรื่อง
ดังกล่าวมาเขียนไว้พร้อมกับการสร้างวัดโสมนัสวิหารแหง่ นี้เพื่ออุทิศถวายเป็นพระราชกุศลให้แก่พระนาง ประกอบกับบริบททางสังคมที่มีการนำเรื่องราวที่ไม่เกี่ยวกับพุทธศาสนามาเขียนไว้ภายในพระอารามก็เริ่มได้รับความนิยมมาตั้งแต่รัชกาลก่อนหน้าแล้ว ทั้งนี้เทคนิคและวิธีการที่ใช้เขียนภาพเป็นการผสมผสานกันระหว่างเทคนิคแบบไทยประเพณีและแบบตะวันตกซึ่งเริ่มปรากฏมาก่อนในสมัยรัชกาลที่ 3 เช่นกัน ลักษณะเด่นของจิตรกรรมฝาผนังเรื่อง “อิเหนา” จึงอยู่ที่การผสมผสานเทคนิคทั้งสองได้อย่างกลมกลืน ยิ่งขึ้นแสดงให้เห็นพัฒนาการทางด้านฝีมือในการเขียนภาพให้ดูสมจริงแบบตะวันตกของช่าง
ABSTRACT:
The purpose of this paper is to study the mural paintings of Inao literature in the royal temple of Wat Somanat Wihan. The research aimed to analyse the inspiration that inspired King Rama IV’s intention to decorate the royal temple with paintings of such a worldly theme. Furthermore, the study searched for the origin of western fine arts techniques and methods used in Wat Somanat Wihan hypothesized to be inherited from the reign of King Rama III. Comparative analyse of mural paintings in Wat Suthat Thepphawararam and in temples built during the reign of King Rama IV were conducted.
In conclusion, King Rama IV was noted for his interested in Plays especially on the theme of Inao literature. In particular, the episode of Unakan which simulated the biography of his late beloved queen, Somdej Phra Nang Chao Somanat Wattanawadee. In order to pay homage to Queen Somanat Wattanawadee, it was his royal intention to build Wat Somanat Wihan painted on the theme of Inao.
Nevertheless, the social context of temples decorated with paintings of stories other than Buddhism had been recorded since era of the previous king. Moreover, a combination of western techniques of fine arts with Thai traditional methods had been practiced since the reign of King Rama III. However, the mural paintings of Inao with superiorly combined techniques showed the progressive skills of the artist in the era of King Rama IV.