
สเตฟาน มาลลาร์เม กับ “อณู” ของงานจิตรกรรม
"THE LMPRESSONISTS AND EDOUARD MANET" : STEPHANA MALLARME" AND "ATOMS" OF PAINTING
โดย วิศรุต พึงสุนทร / By Visarut Phungsoondara
Damrong Journal, Vol 6, No.2, 2007
บทคัดย่อ:
บทความนี้มีจุดมุ่งหมายหลักคือ ทำความเข้าใจแนวคิด หรือ “ทฤษฎี” เกี่ยวกับจิตรกรรมของสเตฟาน มาลลาร์เม (Stephane Mallarme) กวีซิมโบลิสม์ชาวฝรั่งเศส นอกจากกวีนิพนธ์แล้วงานเขียนหลายชิ้นของมาลลาร์เมเป็นที่รู้จัก ในแง่ของการก่อร่างแนวคิดและทฤษฎีวรรณกรรมตลอดศตวรรษที่ยี่สิบ ขณะที่บทความเกี่ยวกับวรรณกรรมได้รับการศึกษาทำความเข้าใจอย่างจริงจังในเชิงลึก นำไปสู่แนวคิดทางทฤษฎีวรรณกรรมที่เป็นรูปเป็นร่าง แต่หากกล่าวถึงบทความเกี่ยวกับจิตรกรรมแล้วกลับไม่ได้รับความสนใจและศึกษาอย่างจริงจัง ซึ่งในบริบทของกิจทางวรรณกรรมในช่วงศตวรรษที่ 19 แล้ว ถือกันว่างานวิจารณ์ทางศิลปะเป็นส่วนสำคัญที่ขาดไม่ได้นัก ของนักเขียนและกวีส่วนใหญ่ บทความเกี่ยวกับจิตรกรรมที่มาลลาร์เมได้เขียนขึ้น ภายใต้ชื่อ “The impressionist of Eduard Manet” นั้นได้รับการตีพิมพ์ในวงแคบ และไมได้รับการศึกษาอย่างจริงจังควบคู่ไปกับงานเขียนชิ้นอื่นๆ ในเชิงทฤษฎีของศิลปะแล้วแนวคิดของมาลลาร์เมมักถูกรวมไว้ว่าเป็นแนวคิดแบบฟอร์มอลลิสม์ (formalism) ในทิศทางเดียวกับนักวิจารณ์ศิลปะอย่าง Clive Bell และ Climent Greenberg ซึ่งก็อาจเป็นเหตุมาจากการอ้างอิงข้อความหรือจดหมายบางตอนที่กล่าวถึงจิตรกรรมอิมเพรสชั่นนิสม์ แต่จากบทความนี้จะเห็นได้ว่าแนวคิดเกี่ยวกับภาวะหรือแก่นแท้ของงานจิตรกรรมนั้น ต่างจากแนวคิดฟอร์มอลลิสม์ ในหลายๆแง่มุม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับของภาวะวิทยา (ontological level) ในบทความชิ้นนี้ มาลลาร์เมแสดงให้เห็นว่าจิตรกรรมเป็นมากกว่าปรากฏการณ์ที่รับรู้ได้ทางผัสสะของบรรยากาศ แสง หรือสี เป็นมากกว่าฝีแปรง โครงสร้างภาพหรือกรอบภาพที่เห็นได้ มาลลาร์เมเห็นว่าเป็นภาวะลี้ลับเกินกว่าผัสสะ ประกอบด้วยอณูขนาดเล็กมากๆที่ไม่อาจมองเห็นได้ ไร้ซึ่งเสถียรภาพและแปรเปลี่ยนไปตลอด ซึ่งแนวคิดดังกล่าวอาจมีรากฐานความคิดแบบอณูนิยมของคาร์ลมาร์กซ์ บทความชิ้นมุ่งทำความเข้าใจแนวคิดของมาลลาร์เมในเชิงสุนทรียศาสตร์รวมไปถึงนัยยะทางการเมือง
ABSTRACT:
This article discusses Stephana Mallarme's idea or "theory" of painting from the essay "The Impressionists and Edouard Mane!''. Beside Mallerme's poetic enterprise, his writings on literature are considered seminal in terms of literary ideas and theory throughout the twentieth century. They have been examined widely and critically leading to a set of literary theories. In contrast, his writings on the visual arts are considered marginal, thus few are critically examined. In the context of nineteenth-century literary life, art criticism was considered significant to most authors and poets. For Mallarme, this is not the case. The article "The Impressionists and Edouard Mane!" was narrowly published. It has never been critically examined, unlike his writings on literature. In the oretical terms, Mallarme's ideas of painting have been considered to be part of the formalist theory of art, not dissimilar to its later exponents such as Clive Bell and Clement Greenberg. This may be a result of his assertions being quoted by later critics and artists. However, this research argues that Mallerme's ideas of painting differ considerably from the formalist views in many aspects, to the point of seeing painting as ontologically different from the way most formalist theorists see it. Mallerme perceives painting as being more than sensory experience as atmosphere, light and color; it goes beyond the perceivable brushstrokes, pictorial structures and pictorial planes. Painting, for Mallarme, belongs to the mystical and extra-sensorial experience of another realm comprised only of invisible minute particles. These particles are constantly in a state of flux and thus inherently unstable. It is not dissimilar to the ancient Greek philosophy of Atomism, which is considered to be at the root of Karl Marx' s idea of the material making of commodity. This research traces this set of ideas in aesthetics as well as in their political implications.