
การขุดค้นที่แหล่งโบราณคดีหนองราชวัตร ต.หนองราชวัตร อ.หนองหญ้าไซ จ.สุพรรณบุรี
RECENT EXCAVATION OF NONGRAJCHAWATARCHAEOLOGICAL SITE AT NONGYASAI DISTRICT, SUPHANBURI.
โดย สุภมาศ ดวงสกุล / By Supamas Doungsakun
Damrong Journal, Vol 8, No.1, 2009
บทคัดย่อ:
บทความนี้นำเสนอการขุดค้นที่แหล่งโบราณคดีหนองราชวัตร ซึ่งเป็นเนินดินที่ฝังศพยุคใหม่ ตั้งอยู่ในลุ่มน้ำกระเสียวในเขตสุพรรณบุรี การขุดค้นเมื่อ พ.ศ.2546 ได้พบหลักฐานการฝังศพและการอยู่อาศัยในพื้นที่นี้ซึ่งจำแนกได้ 2 สมัยหลักคือสมัยแรก มีการใช้พื้นที่ยอดนิยมเป็นที่ฝังศพ ส่วนพื้นที่ชายเนินใช้เป็นที่อยู่อาศัย รูปแบบการฝังศพในสมัยแรกนี้เป็นการฝังแบบนอนหงายเหยียดยาว หันศีรษะไปทางทิศเหนือ มีการฝังเครื่องมือเครื่องใช้จำพวก ขวานหินขัด ขวานหินกะเทาะ กำไลหิน และภาชนะดินเผาจำนวนมากอุทิศให้กับศพ บางโครงมีการทุบภาชนะให้แตกปูรองใต้ศพด้วย โบราณวัตถุชิ้นเด่นในสมัยนี้ คือ ส่วนขาของ “หม้อสามขา” ซึ่งมีรูปทรงขาอ้วนป้อมแตกต่างไปจากรูปแบบหม้อสามขาที่เคยพบในประเทศไทย ในสมัยแรกนี้กำหนดอายุโดยการเปรียบเทียบอยู่ในสมัยหินใหม่ราว 4,000-3,500 ปีมาแล้ว สมัยที่ 2 ยังคงใช้พื้นที่ต่อเนื่องจากสมัยแรก โดยใช้ทั้งเนินดินเป็นที่ฝังศพ รูปแบบการฝังศพในสมัยนี้ยังคงเป็นการฝังแบบนอนหงายเหยียดยาว แต่ที่แตกต่างไปจากสมัยแรกคือทิศทางการฝังที่หันศีรษะไปทางทิศตะวันตก มีการฝังเครื่องมือเครื่องใช้อุทิศให้กับศพจำนวนมาก และบางโครงมีการทุบภาชนะดินเผาให้แตกวางไว้บนศพด้วย ในสมัยนี้ยังคงพบ “หม้อสามขา”อยู่ แต่รูปทรงของขาหม้อแตกต่างไปจากสมัยแรกคือ เป็นขารูปกรวยแหลมคล้ายคลึงกับที่พบในแหล่งโบราณคดีบ้านเก่าในเขตกาญจนบุรี ส่วนรูปแบบขาอ้วนป้อมแบบสมัยแรกนั้นไม่พบในสมัยนี้กำหนดช่วงระยะที่ 2 นี้อยู่ในมัยหินใหม่ตอนปลายราว 3,500-3,000 ปีมาแล้ว
ABSTRACT:
This paper presents results of excavation of a Neolithic earth mound at NongRajchawat in the KraSiew River basin in Suphanburi, western Thailand. Recent excavation in 2003 has uncovered a number of burials and domestic areas that can be divided into two major phases on the basic of similarity and difference of mortuary vessel types, burial tradition, and spatial distribution patterns. In the early phase, burials were placed on the top of the mound, while the fringes of the mound were used for domestic activities. Mortuary tradition of this phase is characterized by the extended supine burials, with their heads pointing to the north. A variety of grave goods were excavated, including adzes, polished stone adze, stone bracelets and pottery vessels. Some burials were placed on “sherd sheets”. The diagnostic type of pottery vessel has tripods with stout and rounded legs, which are different from those founded at other sites in Thailand. Based on the pottery cross-dating, this phase dates around 4,000-3,500 BP. In the second or later phase, the entire areas of the mound wase used for mortuary practice. The mortuary tradition featuring extended supine burials was continued, but the head direction was oriented to the west. Each burial has a relatively large number of grave offering, including adzes, polished stone adzes, and stone bracelets. Some burials were filled with potsherds. The distinctive mortuary vessels are tripods with long cone-shaped legs. This late phase dates around 3,500-3,000 BP.