
นิทรรศน์อัตลักษณ์ไทย: การใช้พื้นที่ในเชิงวัฒนธรรมและการเมืองในพิพิธภัณฑสถาน
Cabinet of Thai Identity: Museum Space in Cultural and Political Context
โดย เอกสุดา สิงห์ลำพอง / By Eksuda Singhalampong
Damrong Journal, Vol 13, No.2, 2014
บทคัดย่อ:
บทความนี้มีจุดประสงค์ในการศึกษานิทรรศการซึ่งจัดแสดงประวัติศาสตร์ราชวงศ์ในฐานะประวัติศาสตร์ของกรุงเทพฯ โดยมุ่งเน้นที่การวิเคราะห์การสร้างภาพความเป็นไทยหรืออัตลักษณ์ไทยผ่านความทรงจำร่วมในประวัติศาสตร์ และ การปฏิรูปการแต่งกายและงานศิลปะที่ปรากฏใน 1) นิทรรศน์รัตนโกสินทร์ 2)พิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และ 3) นิทรรศการศิลป์แผ่นดิน ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม ที่สำคัญอย่างยิ่งคือ เนื้อหานิทรรศการ ชี้แนะถึงพระปรีชาสามารถของราชวงศ์จักรีที่มีต่อพัฒนาการด้านสังคมวัฒนธรรมและการเมืองไทยเป็นอย่างมาก จึงแฝงเร้นไปด้วยอุดมคติของเจ้านิยมซึ่งถือเป็นแก่นของประวัติศาสตร์ทางการของไทยด้วยเช่นกัน พื้นที่ตั้งและอาคารจัดแสดง ของนิทรรศการดังกล่าวมีความน่าสนใจอย่างยิ่งในฐานะที่เป็นพื้นที่ที่สร้างโดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เว้นเพียงแต่อาคารจัดแสดงของนิทรรศน์รัตนโกสินทร์ กระนั้น ถนนราชดำเนินกลางอันเป็นที่ตั้งของอาคารดังกล่าวก็เป็นโครงการของรัชกาลที่ 5 เช่นกัน พื้นที่อันเป็นประเด็นศึกษานี้ได้ถูกใช้เป็นเครื่องมือในแผนการการทำประเทศไทยให้เป็นตะวันตกในสมัยรัชกาลที่ 5 อย่างไรก็ตาม นับเป็นเวลาหลายทศวรรษที่ถนนราชดำเนินถูกใช้ในการเคลื่อนไหวทางการเมืองอยู่บ่อยครั้ง จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าพื้นที่นี้มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดทั้งในบริบทประวัติศาสตร์และการเมือง ความสำคัญนี้มีความเข้มข้นยิ่งขึ้นด้วยการช่วงชิงพื้นที่โดยขั้วการเมืองทั้งฝ่ายสนับสนุนราชสำนักและฝ่ายตรงข้าม การตั้งคำถามและการต่อต้านการดำรงอยู่ของสถาบันกษัตริย์จึงมีผลกระทบเป็นอย่างยิ่งต่อการเกิดขึ้นของนิทรรศการที่มีเนื้อหาสนับสนุนราชสำนักบนพื้นที่อันสำคัญนี้
ABSTRACT:
The Nitasrattanakosin Exhibition Hall (Rattanakosin Exhibition), the Queen Sirikhit Museum of Textiles, and Sin Phaen Din (Art of the Kingdom) at the Ananta Samakhom Throne Hall are all recent exhibitions which display the history of Bangkok, the invention of the formal Thai national costume and the traditional arts and crafts of Thailand, respectively. This study aims to analyse the visualisation of Thai national identity or ‘Thainess’ through the collective memories of Thai history, sartorial reform and the works of art shown in the aforementioned exhibitions. Moreover, the locations these museums or exhibitions occupy, including their buildings, are very significant both historically and politically. They were initially constructed by the commissions of King Chulalongkorn (King Rama V), the embodiment of the notion of ‘Populist King’ in Thailand’s official history and the absolutist monarch. Except for the building of the Nitasrattanakosin, however, Ratchadamnoen Avenue where its building locates also built by King Chulalongkorn. This space was designed to distribute the power of monarchy under the absolute monarchy regime until the 1932 Revolution when the democracy was established and replaced the old regime. In more recent times, this space, especially the Ratchadamnoen Avenue, including the Royal Plaza have been used frequently in political rallies. Thus this paper aims to articulate the relationship between concrete geographical sites and historical circumstances through the exhibitions.