
การเมืองเรื่องจำนวน : การรวบรวม ทำบัญชี วัดขนาด และจำแนก พระพุทธรูปจากหัวเมืองเหนือในช่วงสร้างกรุงเทพฯ
The Politics of Number : Collecting, List Making, Measuring and Cataloging of Buddha Images from the North of Bangkok in the Period of State Building
โดย วิราวรรณ นฤปิติ / By Wirawan Naruepiti
Damrong Journal, Vol 13, No.2, 2014
บทคัดย่อ:
บทความนี้มีจุดประสงค์ในการอธิบายเหตุการณ์ และรูปแบบของการเก็บรวบรวมวัตถุในสมัยรัชกาลที่ 1 ที่มีการรวบรวมพระพุทธรูปจากหัวเมือง สุโขทัยพิจิตร สวรรคโลก อยุธยา ลพบุรี มาประดิษฐานไว้ ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) ทั้งสิ้นจำนวน 1,248 องค์เหตุการณ์ดังกล่าวนี้ยังไม่มีผู้ใดให้ความสนใจกับบริบททางประวัติศาสตร์มากนัก จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ชี้ให้เห็นว่า ราชสำนักได้มีการจัดทำบัญชีพระพุทธรูปเอาไว้อย่างละเอียด เพื่อเป็นการกำหนดเอาไว้ล่วงหน้าในการออกแบบระเบียงพระอุโบสถ ระเบียงพระมหาเจดีย์ และพระวิหารทิศต่างๆ เพื่อเก็บรวบรวมพระพุทธรูปจากหัวเมืองดังกล่าวมาประดิษฐานที่พระระเบียงในวัดโพธิ์บทความชิ้นนี้ต้องการนำเสนอว่า เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นเหตุการณ์สำคัญเนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งของวิธีการที่สำคัญในการสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ โดยบุคคล ในราชสำนักรัชกาลที่ 1 ที่ค่อนข้างมีความเป็นระบบ แม้แต่เรื่องของการจัดการวัตถุในศาสนา เห็นได้ชัดว่าระบบการจัดการดังกล่าวนี้มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับแนวคิดในการบริหารราชการของรัฐในยุคสร้างกรุงรัตนโกสินทร์
ABSTRACT:
This article is a historical narrative of the event where the royal court of King Rama I collected 1,248 images of the Buddha from the provincial towns of Sukhothai, Pijit, Sawankalok, Ayutthaya and Lopburi to be displayed in Wat Phrachetuphon (Wat Pho), Bangkok, in 1794. This case suggests that the royal court had a new methodology for arranging the Buddha images in the gallery in Wat Pho for political reasons. As a result of this study we can see that the collecting of Buddha images for Wat Pho was an important event in the building of Bangkok into the religious capital of Thailand during that time period. We can also see that King Rama I had established his own dynasty and claimed the throne by giving precedence to religious actions. Finally, we can see that the methodology of management, collecting and cataloging of Buddha images shows that the Royal elite of King Rama I had used their new methodology in state building.