
พระพุทธรูปทรงเครื่องสกุลช่างนครศรีธรรมราช
The Nakhon Si Thammarat Crowned Buddha Image School
โดย ดิตถรัตน์ ทิพย์รัตน์ / By Dittarat Tiprat
Damrong Journal, Vol 14, No.1, 2015
บทคัดย่อ:
บทความเรื่องพระพุทธรูปทรงเครื่องสกุลช่างนครศรีธรรมราชนี้มุ่งนำเสนอหลักฐานด้านงานศิลปกรรม คือ พระพุทธรูปทรงเครื่องสกุลช่างนครศรีธรรมราช ด้วยวิธีจำแนกรูปแบบศิลปะและการศึกษาเปรียบเทียบอิทธิพลด้านรูปแบบศิลปะ ข้อสันนิษฐานในการกำหนดอายุสมัยของพระพุทธรูป ที่จะช่วยสะท้อนประวัติศาสตร์ของเมืองนครศรีธรรมราชให้ชัดเจนขึ้น
พระพุทธรูปทรงเครื่องสกุลช่างนครศรีธรรมราชถือได้ว่าเป็นพระพุทธรูปที่แสดงรูปแบบของสกุลช่างนครศรีธรรมราชอย่างแท้จริง และมีความหลากหลายด้านรูปแบบศิลปะ อาทิลักษณะพระพักตร์ เครื่องทรงของพระพุทธรูป ลวดลายทีใช้ประดับ และการแสดงปางโดยส่วนใหญ่จะแสดงปางอุ้มบาตรซึ่งมีความสัมพันธ์กับประเพณีท้องถิ่นคือประเพณีชักพระ (ลากพระ) ซึ่งเป็นประเพณีที่สำคัญของภาคใต้
ABSTRACT:
This article on The Nakhon Si Thammarat Crowned Buddha Image School aims to present the evidence of sculpture, especially the works of The Nakhon Si Thammarat Crowned Buddha Image School by using various methods for the classification of the Buddha image. The research used typology, the analysis of comparative art, chronology dating and the dating of the images of the Buddha. The outcome obtained from the study provides clear and convincing evidence of the history of Nakhon Si Thammarat.
The research on The Nakhon Si Thammarat Crowned Buddha Image School highlights the traditional style of Nakhon Si Thammarat art and catalogues the variety of the artwork, showcasing facial expressions, clothing and decorative designs mostly found as images of the Buddha holding an alms bowl which is called Pang Um Batr in Thai. This is part of the local tradition known as Chak-Pra or lak-pra, a meaningful tradition in southern of Thailand.