
การศึกษาประติมากรรมพระอุมาสมัยอิทธิพลศิลปะเขมรในประเทศไทย
A Study of the Influence of Khmer Art on Uma Images in Thailand
โดย ดร. เนื้ออ่อน ขรัวทองเขียว / By Dr. Nuaon Khrouthongkhieo
Damrong Journal, Vol 14, No.1, 2015
บทคัดย่อ:
พระอุมาเป็นพระชายาของพระศิวะ เทพเจ้าที่ได้รับความเคารพสูงสุดในศาสนาฮินดูลัทธิไศวะนิกาย ในอินเดียความเชื่อเกี่ยวกับพระอุมามีพื้นฐานมาจากการบูชาพระแม่แห่งความอุดมสมบูรณ์ ในสมัยพระเวท เทพและเทวีต่างๆ ซึ่งเป็นตัวแทนปรากฏการณ์ธรรมชาติได้รับการพัฒนาให้มีคุณสมบัติซับซ้อนมากขึ้นและมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ตั้งแต่สมัยคุปตะเป็นต้นมาพระอุมาหรือนางปารวตีได้รวมคุณสมบัติของเทวีท้องถิ่นไว้ที่พระองค์และได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นชายาหรือศักติของพระศิวะโดยพระนางคือต้นเค้าหรือแหล่งเสริมอำนาจที่สำคัญของพระศิวะ ในดินแดนไทยพบประติมากรรมพระอุมาทั้งแกะสลักจากศิลาและหล่อด้วยโลหะอายุราวพุทธศตวรรษที่ 12 – 18 มีลักษณะร่วมแบบศิลปะเขมรมากกว่าศิลปะอินเดีย ประติมานวิทยาที่เด่นชัดของพระอุมาในดินแดนไทยกับพระอุมาในเขมรที่ต่างไปจากอินเดียคือ พระอุมาไม่ทรงอาวุธของพระศิวะแต่มักทรงสังข์ในพระหัตถ์ซ้ายบนและทรงจักรในพระหัตถ์ขวาบน ซึ่งทั้งสังข์และจักรเป็นอาวุธของพระนารายณ์
ABSTRACT:
Uma was the consort of the Lord Shiva, the goddess who was given the utmost respect in the sect of Shaivism. Indian beliefs about the goddess are based on the mother goddess. In the Vedas, various gods and goddess, who represent natural phenomena, have complex personalities and are related to each other. Since the Gupta period, Uma or Parvati has been combined with the features of a local goddess and has been cited as Shakti or the consort of Shiva who is the source of empowerment of the Lord Shiva. In Thailand, many sculptures of Uma are influenced by Khmer art both those carved of stone and those made of cast metal. The sculptures have been dated to between the 7th and 13th centuries and look more Khmer than Indian. The iconography of Uma in Thailand and Cambodia are different from India as can been seen by Uma holding the conch in the upper left hand and the chakra in the upper right hand, both of which are the weapons of Vishnu as opposed to Uma.