
สวยดอก: การผลิตซ้ำทางวัฒนธรรมหัตถศิลป์งานใบตองล้านนา
Suaydok: The Cultural Reproduction of Lanna Banana Leaf Craft
โดย จารุนันท์ เชาวน์ดี / By Jarunan Choadee
Damrong Journal, Vol 15, No.2, 2016
บทคัดย่อ:
บทความวิจัยนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อนำเสนอปรากฏการณ์ การใช้สวยดอกและแนวทางการสืบทอด ผลการวิจัยพบว่า “สวยดอก” คือ กรวยใบตองสำหรับใส่ดอกไม้ ธูปเทียน เพื่อใช้เป็นเครื่องสักการะบูชา โดยชาวล้านนามีความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา จึงใช้สวยดอกในประเพณีและพิธีกรรมต่างๆ สวยดอกมีทั้งแบบธรรมดาและแบบมี “กาบ” ใบตองพับตกแต่งขอบ ซึ่งจะมีชื่อเฉพาะโดยประดิษฐ์คิดค้น จากการเชื่อมโยงสัญลักษณ์และสิ่งที่เคารพนับถือของคนในอดีตกาบสวยดอกจึงออกแบบเพื่อสนองประโยชน์ด้านความงามและเพื่อแสดงถึงการสื่อความหมายของสัญลักษณ์ ในสังคมปัจจุบันวิถีชีวิตได้เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลโดยตรงต่อวัฒนธรรมการใช้สวยดอก การสืบทอดคุณค่าภูมิปัญญาด้านงานใบตองล้านนาด้วยการผลิตสิ่งใหม่จึงเกิดขึ้น เพื่อสนองความต้องการของสังคมยุคใหม่ การคิดค้นและพัฒนาสวยดอกในวัฒนธรรมร่วมสมัย ถือเป็นการผลิตซ้ำทางวัฒนธรรม (Cultural reproduction) โดยมีสวยดอก 12 ราศีปีนักษัตรล้านนา สวยดอก 7 สีประจำวันและสวยดอกไม้จันทน์ ถูกประดิษฐ์ขึ้นเพื่อรับใช้วัฒนธรรมในบริบทใหม่ และการเผยแพร่องค์ความรู้เรื่องสวยดอก นับเป็นการสืบทอดทางวัฒนธรรม (Cultural transmission) ให้คงอยู่ เพื่อเป็นการพัฒนารูปแบบหัตถศิลป์งานใบตอง ล้านนา งานศิลปประดิษฐ์ในสายวิชาด้านคหกรรมศาสตร์ ให้เกิดความร่วมสมัยสอดคล้องกับบริบทใหม่ของสังคม
ABSTRACT:
This research article aims to present the phenomenon of suaydok and the transmission guidelines. The results showed that suaydok is a cone-shaped container made from banana leaves which are filled with flowers, incense, candles and other offerings; used among Lanna people during rituals and customs based on Buddhist beliefs. There are two different styles of suaydoks: one with a spathe, another without a spathe. The trimmed suaydoks have variations depending on the symbols of respect intended by their makers. Thus, the trimming of suaydoks arose out of the need to use suaydoks in ceremonies as well as expressing their beauty while simultaneously conveying pertinent meanings. In order to conserve the traditions, Lanna locals have to come up with some new innovations related to their banana leaf crafts, that are expected to meet the needs of modern life. Consequently, the suaydok has been redesigned and reproduced to suit a new context as a cultural reproduction; it comes in various styles, be it suaydok for Lanna’s 12 zodiac signs, suaydoks of different colours for the 7 calendar days, or funeral suaydoks. The publicizing of knowledge of these artifacts is a form of cultural transmission and preservation. In addition, the development of Lanna’s banana leaf craft and contemporary home economics conform to the new context of society.