
นิราศหนองคายฉบับสมุดฝรั่ง: ประเด็นวิพากษ์บุคคลและเหตุการณ์ที่ไม่ปรากฏในฉบับพิมพ์
The Manuscript Version of Nirat Nongkhai: The Critical Issues Related to persons and Incidents Excluded in the Printed Versions
โดย อรรถพร ดีที่สุด / By Atthaporn Ditisood
Damrong Journal, Vol 15, No.2, 2016
บทคัดย่อ:
นิราศหนองคายฉบับสมุดฝรั่งเป็นนิราศหนองคายฉบับเนื้อความสมบูรณ์ซึ่งไม่ได้ถูกแก้ไขตัดทอน ทำให้มีเนื้อหามากกว่าฉบับพิมพ์เผยแพร่ ส่วนที่เพิ่มขึ้นนั้นมีเรื่องราวทางประวัติศาสตร์อยู่หลายเรื่อง แบ่งได้ 2 ประเด็น ประเด็นแรกคือบุคคลในประวัติศาสตร์ ได้แก่ เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง (เพ็ง เพ็ญกุล) สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ และหลวงพัฒนพงศ์ภักดี (ทิม สุขยางค์) ซึ่งเป็นผู้แต่ง โดยกล่าวถึงบุคลิกลักษณะนิสัยและพฤติกรรมของบุคคลดังกล่าว ประเด็นที่สองคือ เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ ได้แก่ สาเหตุแท้จริงกรณีเคลื่อนทัพเข้าสู่ดงพญาไฟและเบื้องหลังคดีความเกี่ยวกับการแต่งนิราศหนองคาย ประเด็นทางประวัติศาสตร์เหล่านี้ บางส่วนบันทึกไว้ในเอกสารทางประวัติศาสตร์อื่นๆ แต่บางส่วนไม่ได้บันทึกในเอกสารใดๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่วนที่เป็นความรู้สึกนึกคิดของกวีและนิสัยใจคอของบุคคล ด้วยเหตุนี้นิราศหนองคายฉบับสมุดฝรั่งจึงเป็นวรรณกรรมที่มีคุณค่าทางวรรณคดีและประวัติศาสตร์
ABSTRACT:
The manuscript version of Nirat Nongkhai is a complete version of the document which has never been amended. This document highlights the fact that there are additional historical issues that cannot be found in the printed versions. First, the characteristics, personalities and behaviour of people in history - Chaophraya Mahinthrasakthamrong (Pheng Penkun), Somdet Chaophraya Borommahasrisuriyawong (Chuang Bunnak), Krompraratchawangbowon Wichichan and Luang Phatthanaphongphakdi (Thim Sukkhayang), the poet himself, have all been mentioned. Second, the historical incidents such as the genuine reason of military mobilization to Dong Pya Fai and the background of the Nirat Nongkhai composition. These historical issues are partly recorded in historical documents but some are not found elsewhere, especially the poet’s point of views and the behaviour and personalities of historical figures. Therefore, the manuscript version of Nirat Nongkhai is invaluable both as literature and historical testimony.