
โบราณวิทยาเรื่องโลหะสำริดในยุคก่อนประวัติศาสตร์ของประเทศไทย
ARCHAEOLOGY OF BRONZE IN PREHISTORY OF THAILAND
โดย สุรพล นาถะพินธุ / By Surapol Natapintu
Damrong Journal, Vol 13, No.1, 2014
บทคัดย่อ:
บทความนี้มีวัตถุประสงค์หลักคือการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการทำและใช้โลหะสำริดในยุคก่อนประวัติศาสตร์ของประเทศไทยเนื้อหาหลักของบทความแบ่งออกเป็น 2 หัวข้อใหญ่คือ 1.)ความนำและ 2.)การทำและใช้สำริดในยุคก่อนประวัติศาสตร์ของประเทศไทยและ3.)ความเห็นเรื่องผลกระทบของพัฒนาการด้านโลหกรรมต่อสังคมและวัฒนธรรมมนุษย์สมัยอดีต
การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพัฒนาการทางเทคโนโลยีโลหกรรมและวัฒนธรรมสมัยโบราณในดินแดนต่างๆของโลกพบว่าพัฒนาการของเทคโนโลยีนี้มักสัมพันธ์กับการเกิดสังคมและวัฒนธรรมที่มีโครงสร้างแบบซับซ้อนสำหรับกรณีของประเทศไทยนั้นแม้ว่าจวบจนขณะนี้ยังไม่มีผลการศึกษาที่เน้นเฉพาะเจาะจงเพื่อหาความสัมพันธ์ของปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรมทั้ง 2 ประการมากนักแต่ก็มีหลักฐานทางโบราณคดีชี้ความเป็นไปได้ว่าเทคโนโลยีโลหกรรมคงเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่มีผลต่อลักษณะการเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมยุคก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายในประเทศไทยเช่นเดียวกับในดินแดนอื่นของโลก
ABSTRACT:
This article represents an attempt to disseminate knowledge on the production and use of bronze during prehistoric period in Thailand and is divided into 3 parts; namely, 1. introduction, 2. bronze manufacturing and use in prehistoric period of Thailand, 3. impact of metallurgical development on the past human society and culture
The studies focus on the relationship between development of metallurgical technology and ancient culture in various parts of the world suggest that such the development in most cases related to the emergence of complex society and culture. For the case of Thailand, although there is still not many study specifically designed for the elucidation of such the relationship, there are some archaeological evidence suggest that the development of metallurgy was one among the major factors which shaped the trend of cultural changes during the late prehistoric period of Thailand.