
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับความเป็นศูนย์กลางจักรวาลเชิงสัจนิยม ณ พระเจดีย์ประธานวัดบวรนิเวศวิหาร
KING MONGKUT AND THE REALISTIC COSMOLOGICAL IDEA AT THE MAIN STUPA OF WAT BAVORNNIVET
โดย ปติสร เพ็ญสุต / By Patison Benyasuta
Damrong Journal, Vol 13, No.1, 2014
บทคัดย่อ:
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของชาวตะวันตกได้เจริญขึ้นมาก เป็นผลมาจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมในศตวรรษที่ 18 รัชกาลที่ 4 ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่มีวิสัยทัศน์ยาวไกล ทรงเล็งเห็นความจำเป็นที่สยามจะต้องปรับตัวในทุกๆด้าน ทั้งการเปิดรับวิทยาการสมัยใหม่ การพัฒนาระบบการบริหารบ้านเมืองและสังคม แม้แต่ทางด้านศาสนา พระองค์ก็ทรงปรับเปลี่ยนใหม่ โดยทรงเลือกเน้นสิ่งที่เป็นแก่นธรรมะของพระพุทธศาสนาโดยตรง และตัดสิ่งที่ทรงเห็นว่าเหลวไหลไร้สาระออกไป
พระเจดีย์ประธานวัดบวรนิเวศฯเป็นตัวอย่างของการใช้โลกทัศน์แบบสมัยใหม่เข้ามาผสมผสานกับแนวความเชื่อดั้งเดิมตามระบบไตรภูมิ ประติมากรรมช้าง ม้า สิงห์ โค อันเป็นสัตว์ประจำทิศที่อยู่ริมขอบสระอโนดาต ล้อมรอบเขาพระสุเมรุอันเป็นศูนย์กลางจักรวาล ถูกแทนที่ด้วยประติมากรรมสิงโต อันเป็นตัวแทนของชาติอังกฤษ ม้า ที่ถูกใช้เป็นตัวแทนของชาติฝรั่งเศส นกอินทรี อันเป็นสัญลักษณ์ของสหรัฐอเมริกา และช้างซึ่งเป็นตัวแทนของแคว้นล้านช้าง (และมัดฟ่อนข้าวอันหมายถึงล้านนา) เป็นการปรับปรุงแนวความคิดแบบไตรภูมิเข้าสู่แนวความคิดของลัทธิจักรวรรดินิยม ขณะเดียวกันก็ประกาศความเป็นศูนย์กลางจักรวาลของพระพุทธศาสนา อันแทนที่ด้วยเจดีย์ประธาน สัญลักษณ์แทนแกนกลางของโลกเหนือเหล่าชนนอกศาสนาและอาณานิคมต่างๆของสยาม
ABSTRACT:
During the years under the reign of King Mongkut, sciences and technologies of the western world were highly improving thanks to the Industrial Revolution in 18th century. King Mongkut of Siam was a great king of visionary. His Highness was aware of the necessity of adaptation to the arriving global changes. He knew that the changes of his country, in aspects of both technologies and social administration, were inevitable. Even in the religious aspect, His Highness reformed the secular Buddhism of Siam into the new sect dedicated to the pure doctrine and abolished the profane practices.
The main stupa of Wat Bavornnivet was the suitable example of this reformation. It exemplified the integration of modern worldview and indigenous belief of Thai people. The animal sculptures around the four corners of the sacred pond, Anotatta, and also encircled the sacred Mount Meru, which was believed to be the centre of the universe, were replaced with new set of sculptures containing new symbolic meaning. Lion represented the British Royal House; Horse represented the French power; Eagle represented the democratic world of the United States; and finally Elephant represented the Lan Chang Kingdom (with the Bunch of Grain represented Lanna Kingdom) -- all of these connotations were the signs of paradigm shift from old belief of Triphum, which literally means three realms: earth, heaven, and hell, into the colonialistic mindset. At the same time, the Main Stupa signified the centricity of Buddhism and from the Stupa itself the other implication could be made, the Declaration of Siam over the infidels as well as its underlings.