
กระบวนการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนัง วัดโพธารามและวัดป่าเรไรย์ จังหวัดมหาสารคาม
A STUDY OF PARTICIPATIVE CONSERVATION OF MURAL PAINTINGS AT WAT PHO TRARAM AND WAT PA-RERAI IN MAHA
โดย พรเพ็ญ บุญญาทิพย์ / By Pornpen Boonyathip
Damrong Journal, Vol 12, No.1, 2013
บทคัดย่อ:
ตลอดระยะเวลาหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศไทยมีการจัดตั้งโครงการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของชาติหลายโครงการ โดยมุ่งเน้นให้เกิดความร่วมมือในการปฏิบัติงานระหว่าง หน่วยงานของรัฐ เอกชน และประชาชน หนึ่งในโครงการที่ผู้เขียนให้ความสนใจคือ โครงการอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนัง (ฮูปแต้ม) ณ สิมวัดโพธาราม และสิมวัดป่าเรไรย์ จังหวัดมหาสารคาม ที่ดำเนินการเสร็จสิ้นไปเมื่อ ปี พ.ศ.2551 กระทั่งในปัจจุบันผลลัพธ์ที่เกิดจากโครงการดังกล่าวได้สะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จและความบกพร่องบางประการ อันจะนำไปสู่การปรับปรุงและพัฒนาศักยภาพของงานอนุรักษ์แบบมีส่วนร่วมที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
การศึกษาโครงการดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานของรัฐ เอกชน สถานศึกษา และชุมชนท้องถิ่น รวมทั้งวิเคราะห์ปัญหาและติดตามผลสืบเนื่องของโครงการเพื่อนำเสนอแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสม ประกอบด้วย 1) แนวทางการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทั้งจากภายในและภายนอกชุมชน 2) แนวทางการวางแผนขั้นตอนการดำเนินงาน 3) แนวทางการจัดตั้งกลุ่มกิจกรรมโดยแนวทางดังกล่าวสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับโครงการความร่วมมืออื่น ๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดและนำมาซึ่งความปรองดองของประเทศ
ABSTRACT:
During the last decade, Thailand has established many national, cultural conservation projects by focusing on the operational links between the government sector, private organizations and local communities. One project the author is interested in is a project which focuses on the conservation of mural paintings (Hoop – Tam) in Wat Pho Tharam and Wat Pa-Rerai in Maha Sarakham Province which finished in 2008. The outcomes of this project highlight both the positive and negative aspects of this type and work and will hopefully lead to future improvements and an increase in the development potential of participatory conservation.
This study of project conservation looks at the process of interoperability between government, private organizations, educational institutions and the local community. This includes the analysis of problems and the monitoring of projects in order to propose suitable guidelines for the participation in the conservation of mural paintings. The results indicate the following; 1) Guidelines for creating a network of participation from both within and outside the community. 2) Guidelines for the planning stage of operations. lines for establishing an activity group. These findings can be applied to other cooperation projects to maximize the benefits and lead to greater unity with the country.