
ความคิดเห็นและพฤติกรรมของนักท่องเที่ยว ต่อความจริงแท้ในการจัดการ การท่องเที่ยวเชิงโหยหาอดีต: กรณีศึกษาชุมชนตลาดสามชุกร้อยปี จังหวัดสุพรรณบุรี
TOURISTS' OPINIONS AND BEHAVIOUR TOWARD AUTHENTICITY IN NOSTALGIA TOURISM: A CASE STUDY OF 100-YEARS-OLD SAMCHUKMARKET COMMUNITY SUPHANBURI PROVINCE
โดย เกรียงไกร วัฒนาสวัสดิ์ / By Kriengkrai Watanasawad
Damrong Journal, Vol 12, No.1, 2013
บทคัดย่อ:
ความจริงแท้กลายเป็นประเด็นถกเถียงที่สำคัญในการศึกษาด้านการท่องเที่ยวมานานกว่าทศวรรษ โดยมีข้อสันนิษฐานว่านักท่องเที่ยวแสวงหาความจริงแท้ในการท่องเที่ยวและค้นหาสถานที่ซึ่งมีความแตกต่างจากวิถีชีวิตปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้การโหยหาอดีต (Nostalgia) จึงเป็นรูปแบบหนึ่งของการท่องเที่ยววัฒนธรรมที่ตอบสนองต่อความต้องการของนักท่องเที่ยว อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริงนักท่องเที่ยวมักพบการท่องเที่ยวในลักษณะ “ความจริงแท้แบบจัดฉาก (Staged authenticity)” (Mac-Cannell, 1973) งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความจริงแท้ของแหล่งท่องเที่ยวโดยใช้เกณฑ์ที่เสนอในบันทึกข้อตกลงฮอยอัน (Hoi AnProtocols, 2009) สำรวจความคิดเห็นและพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่มีต่อประเด็นความจริงแท้ในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงโหยหาอดีตและเสนอแนะการจัดการการท่องเที่ยวเชิงโหยหาอดีตอย่างยั่งยืน โดยการวิจัยนี้เก็บรวบรวมข้อมูลจากชุมชนตลาดสามชุกร้อยปี ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับนักวิชาการจากภายนอก ประชาชนภายในชุมชนในฐานะนักจัดการการท่องเที่ยว การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสำรวจแบบสอบถามนักท่องเที่ยวจำนวน 100 คน
ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการโหยหาอดีตเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้นักท่องเที่ยวเดินทางมายังตลาดสามชุก ทั้งนี้เนื่องมาจากชุมชนยังคงมีความจริงแท้ในมิติตำแหน่งและสถานที่ (Location and setting) และรูปแบบและการออกแบบ (Form and design) อย่างไรก็ตาม ความจริงแท้ในมิติหน้าที่และการใช้สอย (Use and function) ได้เปลี่ยนแปลงไปตามทิศทางของปรากฏการณ์โหยหาอดีต กล่าวคือ ตลาดเก่าหลายแห่งได้มีหน้าที่และการใช้สอยใหม่ในฐานะเป็นแหล่งท่องเที่ยว นอกจากนี้ผลการศึกษายังแสดงให้เห็นว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่สามารถรับรู้และประเมินความจริงแท้ของแหล่งท่องเที่ยวแห่งนี้ได้เป็นอย่างดี แต่นักท่องเที่ยวไม่สนใจมากนักกับความจริงแท้หรือความดั้งเดิมของสถานท่องเที่ยวดังกล่าว จากผลการศึกษานี้พบว่า ความจริงแท้ของแหล่งท่องเที่ยวจะกลายเป็นความท้าทายสำคัญสำหรับการจัดการการท่องเที่ยวเชิงโหยหาอดีตอย่างยั่งยืน
ABSTRACT:
Authenticity has been one of the most debated issues in tourism studies for more than a decade. It is assumed that tourists search for authenticity and places which differ from those found in their daily lives. Nostalgia, which can be a form of cultural tourism, can fulfill these needs. However, in reality, tourists will always encounter the staged authenticity of tourism (MacCannell, 1973). This research aims at evaluating the authenticity of this tourist attraction based upon the criteria proposed by the Hoi An Protocols (2009). It surveys tourists’ opinions and behaviour towards authenticity under the management of nostalgic tourism and proposes suggestions for the sustainable management of nostalgic tourism. The study was conducted in the 100-Year-Old Samchuk Market Community, using data collected through in-depth interviews with outside scholars and market community members who also are tourism managers, through participant observation, and through questionnaires given to 100 tourists.
The results of this study show that nostalgia is the most important motivation for tourists to visit the 100-Year-Old Samchuk Market Community. This is because the community still seems to have authenticity in terms of location and setting as well as form and design. However, the authenticity in terms of the use and function of this place has already changed in response to the changing direction of nostalgia. That is, old markets now have new uses and functions as tourist attractions. The study further reveals that most tourists recognize and evaluate the authenticity of this place very well, however the originality/authenticity is not the main concern. According to the results of this study, the authenticity of tourist attractions will be the major challenge for the sustainable management of nostalgic tourism.