
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิสัณฐาน ในพื้นที่ราบลุ่มภาคกลางตอนล่าง ที่เกิดจากการถอยร่นของนํ้าทะเล ในช่วงสมัยโฮโลซีนตอนปลาย
CHANGES IN GEOMORPHOLOGY IN THE LOWER CENTRAL PLAIN OF THAOLAND CAUSED BY THE LATE HOLOCENE MARINE REGRESSION
โดย สิริประภา เทพวิมลเพชรกุล / By Siriprapa Tepwimolphetkul
Damrong Journal, Vol 12, No.2, 2013
บทคัดย่อ:
การศึกษาครั้งนี้มีมีวัตถุประสงค์เพื่อเข้าใจในกระบวนการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิสัณฐานของที่ราบภาคกลางตอนล่าง ในช่วงของปรากฏการณ์การถอยร่นของระดับนํ้าทะเล โดยมีพื้นที่ศึกษาเน้นไปยังพื้นที่ทีมีความสูงระหว่าง 2-4 เมตรเหนือระดับนํ้าทะเลปานกลางปัจจุบัน ตัวอย่างตะกอนจากพื้นที่ศึกษา 10 แห่ง ซึ่งเจาะด้วยความลึกระหว่าง 2-4 เมตรนั้น ได้ถูกนำมาวิเคราะห์ลักษณะตะกอน และส่วนหนึ่งถูกนำ ไปตรวจอายุด้วยวิธีการเรืองแสงความร้อน ผลการศึกษาทำ ให้ทราบว่าลำดับและรูปแบบของชั้นตะกอนในที่ราบภาคกลางตอนล่างมีลักษณะเหมือนกันเกือบทั้งพื้นที่ นั่นคือตะกอนช่วงล่างเป็นตะกอนนํ้ากร่อย/ตะกอนสมุทร และตะกอนช่วงบนนั้นเป็นตะกอนดินเหนียวนํ้าจืดของที่ราบนํ้าท่วม ผลจากการกำหนดค่าอายุด้วยวิธีการเรืองแสงความร้อน แสดงให้เห็นว่าตะกอนดินเหนียวนํ้าจืด มีอายุอยู่ในช่วง 2,200-1,200 ปีมาแล้ว อันเป็นระยะเวลาที่ร่วมสมัยกับวัฒนธรรมทวารวดี ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ในช่วงเวลาระหว่าง 1,800-1,500 ปีมาแล้วนั้น บริเวณฝั่งตะวันตกของที่ราบยังคงได้รับอิทธิพลจากการขึ้นลงของทะเลตื้นในพื้นที่ทีมีความสูงระหว่าง 2-4 เมตรเหนือระดับนํ้าทะเลปานกลางปัจจุบัน และบริเวณฝั่งตะวันออกของที่ราบยังคงได้รับอิทธิพลจากการขึ้นลงของทะเลตื้นในพื้นที่ทีมีความสูงระหว่าง 2-2.5 เมตรเหนือระดับนํ้าทะเลปานกลางปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม เมื่อกระบวนการถอยร่นของระดับนํ้าทะเลที่เกิดขึ้นระหว่าง 1,600-1,200 ปีมาแล้วนั้น ได้ส่งผลให้เกิดกระบวนการนํ้าจืดจากแผ่นดินเข้ามาทะเลพื้นที่ทะเลตื้นเดิมในพื้นที่ส่วนใหญ่ของที่ราบ และยังส่งผลให้แนวชายฝั่งทะเลโบราณขยับลงมาทางทิศใต้ ซึ่งอาจจะอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่งในพื้นที่ทางใต้ของอำเภอสามพรานของจังหวัดนครปฐม และอำเภอลำลูกกาของจังหวัดปทุมธานี
ABSTRACT:
This study is aimed to understand the process of geomorphological changes of lower Central Plain of Thailand during the marine regression in the Late Holocene, especially in the areas which are located higher than the recent mean sea-level between 2 and 4 meters. Ten sedimentary sequences, approximately of 2 to 4 meter-long, were collected for sedimentary study and dating by the thermo luminescence method (TL). The result show that the sequences are homogenous, mainly consisting 2 layer: the lower one is characterized by brackish/marine clays and the upper one is freshwater floodplain sediments. TL dates show that the studied sedimentary sequences provide ages ranging from 2200-1200 BP, more or less contemporary with the contemporary with the Dvaravati Culture. The result suggest that the Lower Central Plain has been reached by the shallow sea between 1800-1500 BP in the areas which are higher than the recent mean sea-level between 2 and 4 meters in the western side and between 2-2.5 meters in the eastern side. However, the marine regression process during 1600-1200 BP caused the large freshwater in put into most part of the plain, and the position of palaeo-shoreline has been change downward to somewhere in the area southward Samphran District in Nakhon Pathom and Lamluka District in Pathum Thani