
พระพุทธรูปสกุลช่างไชยาพุทธศตวรรษที่ 18-21 ความสัมพันธ์กับหลักฐานด้านประวัติศาสตร์
The Chaiya buddha image school between the 12th-15th A.D. related to the historical evidence
โดย นันทลักษณ์ คีรีมา / By Nantaluk Keereema
Damrong Journal, Vol 12, No.2, 2013
บทคัดย่อ:
บทความเรื่อง พระพุทธรูปสกุลช่างไชยาระหว่างพุทธศตวรรษที่ 18-21 ความสัมพันธ์กับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เป็นการศึกษารูปแบบพระพุทธรูปสกุลช่างไชยา ด้วยวิธีการจำแนกและศึกษาเปรียบเทียบอิทธิพลทางด้านรูปแบบศิลปะ เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการกำหนดอายุสมัยของพระพุทธรูปสกุลช่างไชยารวมทั้งแสดงถึงความสัมพันธ์กับหลักฐานทางด้านประวัติศาสตร์ของเมืองไชยาผลจากการศึกษาพบว่าพระพุทธรูปสกุลช่างไชยามีรูปแบบศิลปะที่สัมพันธ์กับพระพุทธรูปในศิลปะอินเดีย ศรีลังกา ทวารวดี เขมร และอยุธยากระทั่งได้พัฒนาจนเกิดเป็นรูปแบบเฉพาะของตนเอง คือ การแสดงปางประทานอภัยด้วยพระหัตถ์ซ้าย การประดับรัศมีที่ด้านหน้าอุษณีษะ และการทำชายสังฆาฏิเป็นริ้วซ้อนทับกันทั้งนี้จากการศึกษารูปแบบศิลปกรรมยังสามารถสะท้อนเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของเมืองไชยาให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
ABSTRACT:
This article presents evidence of sculptures, especially works from the Chaiya Buddha image school during the period 12th –15th A.D. through classification and comparative study on the influence of the art in order to represent the relationship with the historical evidence of Chaiya. From the study, evidence suggests that the Chaiya style Buddha images are related to the Buddha Images in the Indian, Sri Lankan, Dvaravati, Khmer and Ayutthaya Art schools. Furthermore; the art itself was developed into the unique style of Chaiya; representing the “Abhaya Mudra” (gesture of no-fear) with the left hand, decorated with a bodhi leaf-shaped in front of the Ushanisha (a three dimensional decoration on top of the head of Buddha) and a flowing, draped robe. The results of the study of the Chaiyaschool also make the history of the Chaiyaclearer.