
รูปแบบอุโบสถ ช่วง พ.ศ. 2484-2510 ในจังหวัดอุดรธานี : กรณีศึกษากลุ่มรูปแบบผสมอิทธิพลช่างญวนและพื้นถิ่น
PIBULSONGKRAM'S ORDINATION HALL STANDARDIZATION PLANS
โดย ชวลิต อธิปัตยกุล / By Chawalit Atipatayakul
Damrong Journal, Vol 9, No.1, 2010
บทคัดย่อ:
ภายหลังจากอุโบสถแบบมาตรฐาน ได้เผยแพร่ออกไปยังจังหวัดต่างๆ ในประเทศไทย เพื่อใช้ในการก่อสร้างตามกำลังปัจจัยแสดงถึงเอกลักษณ์ของชาติ ตามมติชาตินิยมสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม พ.ศ. 2483 จังหวัดอุดรธานีได้รับแนวทางปฏิบัติดังกล่าวเช่นกัน อย่างไรก็ดีกลับพบรูปแบบอุโบสถเกิดขึ้นโดยการผสมกันระหว่างแบบมาตรฐานและพื้นถิ่น แบบที่กล่าวคือ การใช้ผังและส่วนประกอบตกแต่งจากภาคกลางผสมกับรูปแบบฝีมือช่างญวนเข้าด้วยกัน ซึ่งมีจุดเด่นที่วงโค้งครึ่งวงกลมระหว่างหัวเสา
การรับเอารูปแบบจากรัฐบาลในขณะนั้น มีข้อจำกัดในเรื่องของการก่อสร้างที่ใช้ช่างพื้นถิ่นเป็นคนสร้าง ซึ่งทำให้ลวดลายคลาดเคลื่อนจากต้นแบบหรือมีการรับรูปแบบส่วนตกแต่งเข้าไปผสมผสานกับกลุ่ม พื้นถิ่น ปะปนกัน และมักพบกลุ่มรูปแบบที่มีอิทธิพลภาคกลางอยู่เป็นจำนวนมากในเขตเฉพาะอำเภอเมืองเท่านั้น การกระจายแบบมาตรฐานของการสร้างอุโบสถจึงมีการปรับรูปแบบเฉพาะในเขตพื้นที่ดังกล่าว อำเภอที่ห่างออกไปไม่ได้รับรูปแบบมากเท่าที่ควร แสดงให้เห็นถึงสังคมเฉพาะในเมืองเท่านั้นที่รับรูปแบบจากส่วนกลางตรงกับการออกพระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
ABSTRACT:
During Field Marshal P. Pibulsongkram’s ultra-nationalistic and totalitarian regime, an act of parliament was passed (in 1940) to standardize Temple Ordination Halls throughout Thailand. The proposed standard building was based on Chinese Yuan craftsmanship, combined with local techniques and forms; for example, the decoration of the central building featured a curved half-circle with a the head pole.
Restrictions on the use of local construction and engineering techniques caused multiple problems for the builders of the ordination halls. The local craftsmen had no choice but to blend local techniques with the centralized plans which created wide variation across different districts and regions. As such, the centralized ideas of standardized temple ordination halls, as per the Government Administration Regulations Act, were unworkable in practice and must be considered a failure.