
ปราสาทหิน : คำบอกเล่าจาก “ลวดลายที่ยังไม่เสร็จ”
KHMER TEMPLES: THE UNFINISHED MOTIFS
โดย รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง / By Rungroj Thamrungraeng
Damrong Journal, Vol 7, No.2, 2008
บทคัดย่อ:
ปราสาทหินในวัฒนธรรมเขมรโบราณหลายแห่งประดับประดาด้วยลวดลายสลักอันงดงาม ทว่าลวดลายของปราสาทหินหลายแห่งยังไม่เสร็จสมบูรณ์ ลวดลายที่ไม่เสร็จเหล่านี้สามารถใช้เป็นตัวสะท้อนถึงสังคมและวัฒนธรรมสมัยดังกล่าวได้เป็นอย่างดี
ปราสาทหินที่นำมาใช้เป็นกรณีศึกษาได้แก่ ปราสาทเมืองต่ำ ปราสาทบ้านพลวง ปราสาทตาเมือนธม ปราสาทเปือยน้อย ปราสาทพนมวัน และปราสาทพนมรุ้ง ทั้งหมดนี้สร้างขึ้นในช่วงศิลปะบาปวน-นครวัด อายุราวพุทธศตวรรษที่ 16-17
ผลที่ได้จากการศึกษาลวดลายที่ยังสลักไม่เสร็จของปราสาทหินเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงประเด็นต่างๆ ดังนี้
1. ช่างผู้สลักให้ความสำคัญกับเรื่องทิศเป็นอย่างมาก ทิศสำคัญเป็นต้นว่าทิศตะวันออกหรือทิศด้านหน้ามักสลักแล้วเสร็จเป็นส่วนใหญ่ ขณะที่ทิศตะวันตกหรือทิศด้านหลังมักจะยังไม่แล้วเสร็จ
2. ช่างผู้สลักมีความคิดเกี่ยวกับเรื่องฐานันดรศักดิ์ในงานสถาปัตยกรรมกล่าวคือ ปราสาทประธานซึ่งเป็นอาคารสำคัญที่สุดมักได้รับการสลักอย่างสวยงามและก้าวหน้ากว่าอาคารหลังอื่น
3. ลวดลายที่สลักไม่แล้วเสร็จเหล่านี้สะท้อนถึงปริมาณของช่างสลักและระบบการจัดการงานช่างได้เป็นอย่างดี กล่าวคือ จำนวนช่างสลักคงมีจำนวนไม่มากนัก ด้วยเหตุนี้จึงเกิดกระบวนการที่เรียกว่าเดินสายทำงาน เมื่อช่างจำเป็นต้องเริ่มงาน ณ ปราสาทหลังใหม่ งานของปราสาทหลังเก่าจึงยังคงค้างคาไม่แล้วเสร็จABSTRACT:
Many Khmer stone temples are decorated with magnificent, but incomplete, motifs. The unfinished nature of these motifs can be viewed as a reflection of their society and culture, in that time period. The selected temples that I used as case studies are; Prasat Muang Tum, Prasat Ban Pluang, Prasat Ta Muan Thom, Prasat Puey Noi, Prasat Phnomwan and Prasat Phnom Rung. All of these temples were built in the style of Baphuon-Angkok Wat and date between the tenth and eleventh centuries.
The core results of my study are threefold
1. The craftsmen put a high significance on the direction that the stonework faced. Front facing and eastern facing are the most important sides, and these have completed decorations. The back and western facing stonework is left unfinished, as these directions were deemed less important.
2. The craftsman ‘ranked’ the architecture as per levels of nobility, for example, the main sanctuary is the most significant and highest ranked (the most noble building) and this complex is completely decorated with the most beautiful decorations and motifs. No other building ranks so nobly, or received such artisanship.
3. The unfinished motifs reflect both the quality of the craftsmen and the associated management system. We can say that the quality deteriorates proportionately with the quantity of craftsmen associated with any particular motif (many craftsmen working together can create magnificent motifs, but a lesser number of craftsmen working in a specific area create lesser quality motifs). A process called ‘caravan work’ is when craftsmen are forced to abandon their current motifs to work on a new site, thus leaving the previous motif Incomplete. This process of ‘caravan work’ was the root cause behind the deterioration in quality of many motifs.