
การศึกษาลักษณะทางด้านศิลาวรรณาของหม้อสามขาในประเทศไทย
PETROGRAPHIC ANALYSIS OF TRI-POD POTTERY IN THAILAND
โดย ชวลิต ขาวเขียว / By Chawalit Khaokhiew
Damrong Journal, Vol 11, No.1, 2012
บทคัดย่อ:
บทความนี้นำเสนอผลการศึกษาลักษณะศิลาวรรณาของหม้อสามขา จากแหล่งโบราณคดีในพื้นที่ภาคกลางและพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย เพื่อศึกษาถึงเทคโนโลยีการผลิต แหล่งวัตถุดิบ อุณหภูมิการเผา ผลการศึกษาพบว่า หม้อสามขาจากพื้นที่ภาคกลางจะใช้ดินในท้องถิ่นมาผลิต จัดเป็นภาชนะดินเผาเนื้อดิน ขนาดทรายละเอียด มีการเตรียมดินที่ดี อุณหภูมิการเผาประมาณ 500 – 600 องศาเซลเซียส เผาแบบสุมไฟในพื้นที่โล่งแจ้ง ส่วนหม้อสามขาจากพื้นที่ภาคใต้จะใช้ดินในท้องถิ่นมาผลิต จัดเป็นภาชนะดินเผาเนื้อดิน ขนาดค่อนข้างหยาบ ไม่มีการเตรียมดิน อุณหภูมิการเผาประมาณ 500 – 600 องศาเซลเซียส เผาแบบสุมไฟในพื้นที่โล่งแจ้ง
ABSTRACT:
This paper uses petrographic analysis to study tri-pod pottery from Central and Southern Thailand by examining tri-pod pottery raw materials, tempering, forming techniques and firing methods. The petrographic analysis shows that tri-pod pottery from the central region is composed of local clay consisting of well sorted, very fine sand tempers. Open firing is used with firing temperatures ranging from 500 – 600 cº. The tri-pod pottery from the southern region is composed of local clay from natural soil, but poorly sorted where open firing is again used with firing temperatures ranging from 500 –600 cº.