
การจัดการพิพิธภัณฑ์เชิงบูรณาการ กรณีศึกษาพิพิธภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นแหล่งเตาเมืองน่านบ้านเตาไหแช่เลียง ตำบลสวก อำเภอเมือง จังหวัดน่าน
COMMUNITY MUSEUMS: AN INTEGRATIVE MANAGEMENT MODEL
โดย วนิษา ติคำ / By Vanisa Tikam
Damrong Journal, Vol 9, No.2, 2010
บทคัดย่อ:
การศึกษาครั้งนี้มุ่งศึกษากระบวนการและปัญหาในการจัดการพิพิธภัณฑ์เพื่อหารูปแบบที่เหมาะสมในการ จัดการพิพิธภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นแหล่งเตาเมืองน่าน บ้านเตาไหแช่เลียงจำนวน 4 แห่ง
ผลการศึกษาพบว่าพิพิธภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นแหล่งเตาเมืองน่านบ้านเตาไหแช่เลียงทั้ง 4 แห่ง มีปัญหาในการจัดการ คือขาดความเชื่อมโยงแบบพึ่งพิงอิงอาศัยกันในลักษณะต่างคนต่างทำ
รูปแบบการจัดการที่เหมาะสมคือการจัดการพิพิธภัณฑ์เชิงบูรณาการที่อยู่บนฐานของการพึ่งตนเองและพึ่งพา ภายนอกอย่างเหมาะสมบนฐานความรู้ความสามารถที่มีอยู่ในชุมชน และเป็นการจัดการที่สร้างประโยชน์ให้แก่ชุมชนและ สังคมได้อย่างยาวนาน โดยวิธีการที่ให้พิพิธภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นแหล่งเตาเมืองน่าน บ้านเตาไหแช่เลียงมีการจัดการที่เชื่อม โยงพึ่งพิงอิงอาศัยกันในมิติต่างๆ
1. มิติด้านการเมือง คือ การให้องค์การบริหารส่วนตำบลสวกเป็นผู้ประสานการจัดการ โดยให้ผู้ดูแลจัดการพิพิธภัณฑ์เฮือนบ้านสวกแสนชื่นเป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำเรื่องการจัดการ
2. มิติด้านความเชื่อ คือ ต้องสร้างศาลเจ้าที่เพื่อสร้างความเคารพ นับถือบรรพบุรุษช่างปั้นดินและเจ้าที่ที่ดูแล คุ้มครองพิพิธภัณฑ์ รวมทั้งการจัดพิธีบวงสรวงบรรพบุรุษช่างปั้นดินร่วมกัน
3. มิติด้านเศรษฐกิจ คือ ต้องมีการกำหนดให้พื้นที่ภายในพิพิธภัณฑ์ทั้ง 4 แห่ง เป็นพื้นที่การอนุรักษ์ทรัพยากรทางโบราณคดี และเพิ่มมูลค่าของสินค้าธุรกิจพิพิธภัณฑ์ผ่านการสร้างสัญลักษณ์
4. มิติด้านการท่องเที่ยว คือ การทำเส้นทางท่องเที่ยวให้มีความเชื่อมโยงกับทรัพยากรวัฒนธรรมที่มีอยู่ในชุมชน โดยเพิ่มกิจกรรมการท่องเที่ยวและการประชาสัมพันธ์
ABSTRACT:
This study is aimed at identifying the difficulties in designing an appropriatemodel for the management of 4 local-community museums of ancient ceramic kiln sites (known as Ban Tao Hai Jae-Liang) in Nan province.
Preliminary research indicates the existing management activities of the studied museums are disjointed, thus creating many problems with regard to the conservation of archaeological site and the maintenance of these museums.
The appropriate management model to overcome such difficulties is an Integrative Management Model. Following the Integrative Management Model, all 4 museums should operate their activities interdependently based on local wisdom and cooperation with various external organizations, including:
1. A political dimension; to cooperate with the Suak Sub-District Administration which supervises the Heun Ban Suak Saen Cheun Museum.
2. A mythical & belief dimension; local communities should create and construct a spirit shrine to honor the ancient potters and protective spirits arranging regular worshiping ceremonies.
3. An economic dimension; to highlight all 4 museums as archaeological preservation sites-create a common identity and process all museum-based business.
4. A tourism dimension; to create a tourist program linked to all the available cultural resources within the community; arranging promotions of the new activities archaeological sites and selling ancient ceramic objects would not sustain their living, so they stopped looting and tried to preserve the kiln sites, located in their orchards, in association with the preservation of natural forestland.