
"ฐานบัวเข่าพรหม" เอกลักษณ์ของศิลปะล้านช้าง : ความสัมพันธ์โยงใยล้านช้าง ล้านนา และอยุธยา
"KHO PROM": THE IDENTITY OF LAN CHANG ART
โดย เกศินี ศรีวงค์ษา / By Kesinee Sriwongsa
Damrong Journal, Vol 9, No.2, 2010
บทคัดย่อ:
ฐานบัวเข่าพรหมถือเป็นเอกลักษณ์ของศิลปะล้านช้าง น่าจะปรากฏขึ้นครั้งแรกในเจดีย์ทรงปราสาทยอด ณ พระธาตุบังพวนองค์เดิม ราวปลายพุทธศตวรรษที่ 21- ต้นพุทธศตวรรษที่ 22 ก่อนที่จะส่งแรงบันดาลใจไปให้กับเจดีย์ทรงบัวเหลี่ยม อันมีต้นแบบที่พระธาตุสองรัก ต้นพุทธศตวรรษที่ 22 หลังจากนั้นก็นิยมสืบมาในศิลปะล้านช้าง โดยที่มีการรับส่งรูปแบบระหว่างเจดีย์ทั้งสองประเภทนี้ ฉะนั้น เอกลักษณ์ของศิลปะล้านช้างจึงถือกำเนิดขึ้นในดินแดนล้านช้างแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ก่อนที่จะแพร่หลายในพื้นที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ทั้งนี้แสดงให้เห็นว่าดินแดนแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยในปัจจุบัน ครั้งหนึ่งเคยปกครองโดยกษัตริย์ล้านช้างสลับสับเปลี่ยนกับกษัตริย์อยุธยา ทำให้กลายเป็นพื้นที่ชายแดนระหว่างอาณาจักรล้านช้างกับอาณาจักรอยุธยา อย่างไรก็ตาม กลุ่มชนส่วนใหญ่ทีอาศัยอยู่ในบริเวณนี้คงเป็นชาวล้านช้าง รวมไปถึงกลุ่มช่างที่สร้างสรรค์งานศิลปกรรม ดังที่มีการผสมกลมกลืนเอารูปแบบของศิลปะอยุธยารวมเข้ากับเอกลักษณ์ของศิลปะล้านช้างได้อย่างลงตัว
ABSTRACT:
The base molding “Kho Prom” of Pra That Bang Phun dates from the 16-17 Century A.D, and can be said to exhibit qualities that form the identity of Lan Chang art. Kho Prom developed from Pra That Bang Phun to Pra That Sri Song Ruk, Bua Liam chedi, during the 17 Century A.D, and continues to be popular along both sides of Mekong River. The Lan Chang Style was originally established in Northeastern Thailand before becoming prevalent all along the Mekong.
Ayudhya and Lan Chang monarchs ruled alternatively in Northeastern Thailand, and this resulted in a mixed art style in the area.