
ชุมชนร่วมแบบเขมรบริเวณลุ่มน้ำแม่กลอง – ท่าจีน : พัฒนาการ และการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม
THE KHMER CONTEMPORARY COMMUNITIES IN THE MAE KLONG-THA CHIN VALLEY: CULTURAL DEVELOPMENT AND CHANGES
โดย ธัชสร ตันติวงศ์ / By Thachsorn Tantiwong
Damrong Journal, Vol 5, No.2, 2006
บทคัดย่อ:
บทความนี้มีจุดมุ่งหมายที่สำคัญคือ เพื่อต้องการนำเสนอในประเด็นเกี่ยวกับพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมของชุมชนโบราณในบริเวณลุ่มแม่น้ำแม่กลอง – ท่าจีน ภายหลังจากที่อิทธิพลวัฒนธรรมเขมรแพร่กระจายเข้ามาในพื้นที่นี้ซึ่งมีขอบเขตการศึกษาครอบคลุมพื้นที่ 5 จังหวัดในภูมิภาคตะวันตกของประเทศไทย ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม และเพชรบุรี
ผลการศึกษาพบว่า อิทธิพลวัฒนธรรมเขมรจากศูนย์กลางในประเทศกัมพูชาที่แพร่หลายเข้ามาในบิเวณภูมิภาคตะวันตกของประเทศไทย มี 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 สมัยก่อเมืองพระนคร ราวพุทธศตวรรษที่ 12 – 14 อันเป็นช่วงเวลาที่ร่วมสมัยกับวัฒนธรรมทวารวดี หลักฐานสำคัญคือ การค้นพบมุขลึงค์และศิวลึงค์จากเมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการนับถือศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวะนิกายในช่วงเวลานี้ด้วย และระยะที่ 2 สมัยเมืองพระนคร ช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 ตรงกับรัชสมัยขงพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 กษัตริย์อาณาจักรเขมรโบราณที่ครองราชย์อยู่ที่เมืองพระนครหลวง (นครธม) อิทธิพลเขมรระยะนี้ได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากต่อชุมชนทางภาคตะวันตกของประเทศไทย ดังปรากฎร่องรอยชุมชนโบราณจำนวนหลายแห่ง อาทิ ปราสาทเมืองสิงห์ เมืองครุฑ เมืองราชบุรีบริเวณวัดมหาธาตุ เมืองโบราณที่สระโกสินารายณ์ โบราณสถานเนินทางพระ เมืองโบราณบ้านหนองแจง ปราสาทกำแพงแลง เป็นต้น
วัฒนธรรมเขมรที่แพร่หลายเข้ามาในช่วงหลังนี้ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรมด้านต่างๆ ซึ่งแตกต่างจากวัฒนธรรมทวารวดี ได้แก่ ด้านแบบแผนการตั้งถิ่นฐาน คติความเชื่อทางศาสนา รูปแบบศิลปะ สถาปัตยกรรม และรูปแบบเครื่องมือเครื่องใช้ ที่เห็นอย่างชัดเจนที่สุดคือภาชนะดินเผาเคลือบ อิทธิพลเขมรที่แพร่หลายเข้ามานั้นได้ผสมผสานเข้ากับวัฒนธรรมทวารดีอันเป็นวัฒนธรรมดั้งเดิม จึงทำให้วัฒนธรรมเขมรในไทยมีความแตกต่างกับวัฒนธรรมเขมรที่พบในประเทศกัมพูชา เช่น ลวดลายปูนปั้นประดับโบราณสถาน ประติมากรรมรูปเคารพสลักจากหินทรายสีแดง ที่แสดงออกถึงฝีมือช่างท้องถิ่น นอกจากนี้ ยังพบความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมระหว่างชุมชนร่วมวัฒนธรรมเขมรในภูมิภาคตะวันตกกับชุมชนอื่นๆ อาทิ ชุมชนทางภาคกลางที่เมืองลพบุรี และชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ตลอดจนหลักฐานที่แสดงถึงการติดต่อกับจีนสมัยราชวงศ์ซุ่ง
ABSTRACT:
The major purpose of this article is to present the cultural development and changes of ancient communities in the Mae Klong-Tha Chin vally, after the influence of Khmer culture. The scope of the study is limited to the western region of Thailand, which covers five provinces: Kanchanaburi, Suphanburi, Ratchabuti, Nakhon Prathom and Petchaburi.
Results of the research indicate that there were two phases of Khmer cultural influence; the first phase belonged to the Pre-Angkorian period (6th-8th century A.D.), which is shown by the discovery of Mukhalinga from U-Thong, Suphanburi Province. The second phase was during the Anfkorian period in the late 12th century A.D., reign of King Jayavarman Vll. Traces of this period could be seen in many communities such as Muang Singh, Muang Krut, Ban Klon Do site, Wat Mahathat of Ratchaburi, Muang Srakosinarai, Noen Thang Pra ancient ruin, Prasat Kamphaenglang etc.
After the spread of Khmer culture into Mae Klong-Tha Chin valley area, there was evidence of cultural changes different from Dvaravati culture, which formerly existed in the studied areas, including settlement pattern religious beliefs, monuments and Khmer ceramics (brown glaze/green glaze). However, Khmer culture in Thailand was quite different from Khmer culture in Cambodia because it was integrated with Dvaravati culture, the local in central Thailand. Moreover, there was the cultural relationship between the ancient communities in the western region (Kanchanabutri, Suphanbuti, Ratchaburi, Petchaburi) and the contemporary communities in Central (Lopburi) and North-East Thailand (Lover Mun Vally), Cambodia and China during the sung period.