
การวิเคราะห์ภาพสลักวิธุรบัณฑิต บนเสมาทวารวดีในภาคอีสาน
A NEW INTERPRETATION OF VIDHURAPANDITA – JATAKA SCENE IN BOUNDARY MARKER STONE FROM NORTHEASTERN THAILAND
โดย ปติสร เพ็ญสุด / By Patisorn Phensut
Damrong Journal, Vol 8, No.1, 2009
บทคัดย่อ:
เสมา เป็นแท่งหินที่ตั้งขึ้นเพื่อแสดงอาณาบริเวณของเขตศักดิ์สิทธิ์ เป็นประเพณีท้องถิ่นที่จัดว่าเป็นเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมทวารวดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ซึ่งแตกต่างไปจากวัฒนธรรมทวารวดีในภาคกลาง เสมาในวัฒนธรรมทวารวดีเหล่านี้กระจายตัวอยู่ในส่วนต่างๆของภาคอีสาน บางส่วนของภาคกลางในประเทศไทย รวมทั้งดินแดนลาวและกัมพูชาอีกด้วย เสมาจำนวนมากสลักขึ้นด้วยหินทราย แสดงภาพเล่าเรื่องจากคัมภีร์ในพุทธศาสนา เช่นพุทธประวัติ ชาดก หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆเช่นสถูป ธรรมจักร หรือหม้อปูรณฆฏะ
ในการศึกษาครั้งนี้ได้เลือกเสมาในวัฒนธรรมทวารวดีภาคอีสานของประเทศไทยซึ่งสลักเรื่องจากวิธุรบัณฑิตชาดก วิธุรบัณฑิตชาดกเป็นชาดกเรื่องที่ 9 จากทศชาดกกล่าวถึงพระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นวิธุรบัณฑิต เสนาบดีของกษัตริย์แห่งอินทปัตต์ได้บำเพ็ญสัจจะบารมี และแสดงธรรมสั่งสอนพระราชาอยู่เป็นนิจ ธรรมของท่านได้ทำให้ยักษ์ซึ่งคิดปองร้ายกลับใจได้
ได้พบเรื่องเล่าวิธุรบัณฑิตชาดกบนใบเสมาในวัฒนธรรมทวารวดีประมาณ 3 ฉาก ฉากแรกคือ ฉากปุณณกยักษ์ลักพาวิธุรบัณฑิต โดยให้เกาะท้องม้าเหาะไปในอากาศ ฉากที่ 2 พบเพียงตัวอย่างเดียวจากวัดบ้านม้า สกลนคร เคยได้รับการวิเคราะห์ว่าเป็นฉากจากเรื่องรามายณะ แต่จากการศึกษาในครั้งนี้พบว่า ควรเป็นฉากที่ปุณณกยักษ์พยายามฆ่าวิธุรบัณฑิต โดยการขว้างลงไปในเหว ฉากที่ 3 เป็นฉากวิธุรบัณฑิตแสดงธรรมโปรดปุณณกยักษ์ ฉากนี้พบค่อนข้างมาก และมักเกิดความสับสนกับฉาก มหาภิเนษกรมณ์ ในพุทธประวัติ ในการศึกษาครั้งนี้ พบว่ามีรายละเอียดบางอย่างที่แตกต่างไปจากพุทธประวัติ เช่น มุทราแสดงธรรม หรือวิตรรกมุทรา หรือการบูชาของบุคคลในภาพ ซึ่งไม่พบในฉากมหาภิเนษกรมณ์ แต่พบในเรื่องวิธุรบัณฑิตชาดก
ABSTRACT:
Sema or boundary marker stone, founded to bound the scared area, was the local tradition of the Dvaravati culture in the Northeast of Thailand which differed from the Dvaravati’s manner in the central. Dvaravati’ssemas were spead throughout many part of Northeastern Thailand, some part in the central of Thailand, Cambodia, and Laos. Many of them are carved sandstones which depicted the scene according to Buddhist’s text as well as the act of Buddha, jakatas, an auspicious thing such as stupa, Dharmmacakra, and the full water pot (Puranaghata).
The Dvaravati’sSema carving from Northeastern Thailand depicted the narrative of Vidhurapandita-Jakata was selected to study. The Vidhurapandita-Jakata is the ninth birth of the Buddha from the ten significant reincarnations. This Jakata narrated Bodhisattva who was born to be Vidhurapandita, the minister of King of Indapatta, for practicing truthfulness or Saccaparami. He regularly preached to the king and his valueable sermon made the mischievous demon repented of wrong doing. There were three scenes of Vidhurapandita in the Sema that study. Firstly, the scene of Vidhurapandita was abducted by Punnakayaksa, the demon. This scene demonstrated as Punnakayaksa Demon sat on the back of magical horse and Vidhurapandita was holding a horse’s belly while the horse ran up through the heavens. Secondly, this scene was found only one specimen from WatBanma, Sakolnakorn and was interpreted as a scene of Ramayana. From this study, this scene interpreted to be the scene of Punnakayaksa Demon tried to throw Vidhurapandita down to the vale, attempted to kill the Bodhisattva. Thirdly, Vidhurapanditawae preaching to Punnakataksa Demon, this scene was very famous and could be confused with the scene of The Great Departure of the Buddha’s act. In this study, there were some details from the scene such as the posture of the Adoration of the Character, to support the interpretation of the three Vidhurapandita-Jakata scenes of the Dvaravati’sSema carving.