
โบราณคดีและชาติพันธุ์ในเขตหมู่บ้านชาวญัฮกุรที่ อ.เทพสถิต จ.ชัยภูมิ
Archaeology and Ethnic Group in the Area of Nyah-Kur Villages in Thepsathit District, Chaiyaphum Province
โดย พิพัฒน์ กระแจะจันทร์ / By Pipad Krajaejun
Damrong Journal, Vol 15, No.1, 2016
บทคัดย่อ:
เว็บพนันอันดับ1 HUC99 เว็บตรง ไม่ผ่านเอเย่นต์บทความนี้เป็นการนำเสนอผลงานวิจัยของโครงการสำรวจหลักฐานทางโบราณคดีและเส้นทางการค้าโบราณในขอบที่ราบสูงโคราชในเขต อ.เทพสถิต จ.ชัยภูมิ ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของชาวญัฮกุร ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่พูดภาษามอญโบราณคล้ายภาษาสมัยทวารวดี โดยใช้วิธีการทางด้านโบราณคดีและประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์
ผลจากการศึกษาพบว่า ในพื้นที่ อ.เทพสถิตเริ่มมีการตั้งถิ่นฐานครั้งแรกเมื่อพุทธศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา โดยแหล่งโบราณคดีสามารถแบ่งออกเป็น 2สมัยหลักคือ สมัยแรกมีอายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ 17-19 พบใกล้กับช่องเขาที่หมู่บ้านไร่ มีชื่อว่า ช่องชิด ซึ่งช่องเขานี้เป็นทางขึ้นลงระหว่างที่ราบสูงโคราชกับที่ราบภาคกลาง โบราณวัตถุประเภทหลักที่พบได้แก่เครื่องปั้นดินเผาแบบเขมรและเครื่องปั้นดินเผาจีนสมัยราชวงศ์ซ่งใต้ สะท้อนถึงการเติบโตของการค้าของอาณาจักรเขมร แต่หลักฐานที่พบในสมัยนี้ไม่สามารถบอกได้ว่าสัมพันธ์กับชาวญัฮกุร ส่วนสมัยที่สองมีอายุตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์โบราณวัตถุสำคัญที่พบในเขตหมู่บ้านเก่าของชาวญัฮกุรคือเครื่องปั้นดินเผาสมัยราชวงศ์ชิงและเหรียญสมัยรัชกาลที่ 5
ธิดา สาระยา สันนิษฐานว่าชาวญัฮกุรคือประชากรของรัฐทวารวดีที่อพยพหนีภัยสงครามจากการรุกรานของอาณาจักรเขมรขึ้นไปอยู่บนภูเขา แต่จากการสำรวจทางโบราณคดีนั้นไม่พบชุดหลักฐานที่สัมพันธ์กับวัฒนธรรมทวารวดีแต่อย่างใด โดยพบเพียงโบราณวัตถุในวัฒนธรรมเขมรเท่านั้น ดังนั้น เป็นไปได้ว่าเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 17 เมื่อการค้าขยายตัว กลุ่มชนกลุ่มหนึ่งซึ่งอาจเป็นชาวญัฮกุรได้รวมตัวตั้งเป็นหมู่บ้านเพื่อเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายการค้าของอาณาจักรเขมร โดยทำหน้าที่ติดต่อกับชุมชนโบราณในเขต อ.บำเหน็จณรงค์ จ.ชัยภูมิ และอ.ลำสนธิ จ.ลพบุรี
ABSTRACT:
เว็บพนันอันดับ1 HUC99 เว็บตรง ไม่ผ่านเอเย่นต์This article is part of the Archaeological Survey of Ancient Trade Routes on the Rim of the Khorat Plateau,Thepsathit District, Chaiyaphum Province Project. The main aim of this project is to study the history of the Nyah-Kur people, speakers of the Old-Mon language which has linguisticsimilarities to the Dvaravati inscription. The disciplines of ethnoarchaeology and ethonohistory were utilised within this research, which concluded that the initial habitation of the Thepsathit district was from the 12th century CE onwards. Archaeological excavations provided evidence for the categorisation of two distinct time periods, the first being the period between the 12th to 14th centuries CE, and the second within the reign of King Rama V of the Ratanakosin period. The majority of archaeological sites found which were dated to the first period were located near the Chong Chid mountain pass, a passage between the Korat Plateau and the Central Plain of Thailand. Fragments of Khmer and Southern Song ceramic wares were recovered from these survey sites, indicating the expansion of the political influence and trade networks of the Khmer Kingdom within this period. The archaeological sites pertaining to the second period were located within the village of the Nyahkur people which they inhabited during the reign of King Rama V. This area was identified through research concerning the oral history of the area, the presence of Qing ceramics and coins minted during the reign of King Rama V.
The existing narrative concerning the history of the region was that the invasion of the Khmer Kingdom into the Dvaravati State led to the indigenous Dvaravati people fleeing into the surrounding mountainous areas, which turned them into the Nyah-Kur people. However, the results of the archaeological survey challenge the existing narrative, as no Dvaravati assemblages were recorded. Instead Khmer type assemblages were recovered. This new information has informed new theories concerning the expansion of trade around the 12th century, suggesting that a local indigenous group of possibly but inconclusively the Nyah-Kur settled within the village for the purpose of controlling and benefitting from the trade networks within the mountain pass region. Consequently they became directly involved within the extensive Khmer Kingdom trade network with the ancient communities, trading goods both to the east, especially the Bamnet Narong district and to the west, especially the Lam Sonthi district.