
กลวิธีทางภาษาที่ใช้ในการตอบปฏิเสธการขอร้องกับปัจจัยเรื่อง “พรรคพวก” ในสังคมไทย
Linguistic strategies used for refusing requests and the factor of Phakphuak ‘partisan’ in Thai society
โดย ดร. สิทธิธรรม อ่องวุฒิวัฒน์ / By Dr. Sittitum Aongwuttiwat
Damrong Journal, Vol 16, No.1, 2017
บทคัดย่อ:
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกลวิธีทางภาษาที่ผู้พูดภาษาไทยใช้ในการตอบปฏิเสธการขอร้องกับปัจจัยเรื่อง “พรรคพวก” ในสังคมไทย โดยมีคำถามการวิจัยว่า
ในการปฏิสัมพันธ์ ผู้พูดภาษาไทยจะเลือกใช้กลวิธีทางภาษาในการตอบปฏิเสธการขอร้องจากผู้ฟังที่เป็นพรรคพวกเดียวกันหรือต่างพรรคพวกกับผู้พูดเหมือนหรือต่างกัน อย่างไร ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยเรื่อง “พรรคพวก” มีผลต่อการเลือกใช้กลวิธีทางภาษาแบบตรงและแบบลดน้ำหนักความรุนแรงในการตอบปฏิเสธการขอร้องของผู้พูดภาษาไทย โดยความสัมพันธ์ดังกล่าวมีที่มาจากความคิดเรื่อง “พรรคพวก” ในสังคมไทย ทั้งนี้ความคิดเรื่อง “พรรคพวก” ในสังคมไทยเกิดจากปัจจัยทางสังคมวัฒนธรรม 2 ประการ ได้แก่ 1. การมีมุมมองตัวตนแบบพึ่งพา (an interdependent view of self) และ 2. ความเป็นสังคมแบบอิงกลุ่ม (collectivism)
ABSTRACT:
This article aims at examining the relationship between linguistic strategies used for refusing requests and a factor of Phakphuak ‘partisan’ in Thai society. The research question is how Thai speakers choose linguistic strategies to refuse requests from their Phakphuak ‘partisan’ and from the one who is not their Phakhphuak ‘partisan’. The results reveal that Phakphuak ‘partisan’ influences how Thai choose linguistic strategies to refuse requests. These relationships are from the concept of Phakphuak ‘partisan’ in Thai society. The concept of Phakphuak ‘partisan’ in Thai society is from two sociocultural factors: an interdependent view of self and collectivism.