
ฟันผุและการสูญเสียฟันขณะมีชีวิตของกลุ่มประชากรในพิธีกรรมการฝังศพครั้งที่สอง ที่โนนป่าช้าเก่า บ้านกระเบื้อง จังหวัดนครราชสีมา
Dental Caries and Antemortem Tooth Loss in a Secondary Burial Population at Non Pacha Kao, Ban Krabueang, Nakhon Ratchasima Province
โดย นฤพล หวังธงชัยเจริญ / By Naruphol Wangthongchaicharoen
Damrong Journal, Vol 17, No.2, 2018
บทคัดย่อ:
บทความเสนอผลการศึกษาสุขภาพช่องปากของประชากรโบราณในพิธีกรรมการฝังศพครั้งที่สองในภาชนะดินเผาที่แหล่งโบราณคดีโนนป่าช้าเก่า บ้านกระเบื้อง อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา กำหนดอายุประมาณ 1,500-2,500 ปีมาแล้ว ด้วยตัวชี้วัดสุขภาพช่องปากทั้งฟันผุและการสูญเสียฟันขณะมีชีวิต พบกลุ่มประชากรมีอัตราความชุกของรอยโรคฟันผุระดับต่ำและการสูญเสียฟันขณะมีชีวิตระดับสูง เพศชายพบการสูญเสียฟันขณะมีชีวิตมากกว่าเพศหญิงอย่างมีนัยสำคัญ การศึกษาเปรียบเทียบกับกลุ่มประชากรยุคก่อนประวัติศาสตร์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยพบประชากรโนนป่าช้าเก่ามีอัตราการสูญเสียฟันมากกว่ากลุ่มประชากรในเขตลำน้ำมูลตอนบน แต่มีอัตราความชุกของฟันผุใกล้เคียงกัน แสดงถึงลักษณะและรูปแบบการบริโภคและอาหารที่คล้ายคลึงกัน แต่มีพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน รวมทั้งระดับสุขอนามัยช่องปากที่ต่างกันในแต่ละกลุ่มประชากร
ABSTRACT:
This article presents the study results of oral health of the ancient population from the secondary jar burial ritual at Non Pacha Kao archaeological sites, Ban Krabueang, Bua Yai district, Nakhon Ratchasima province (approximately 1500-2500 BP.). From the investigation with oral health indicators like dental caries and antemortem tooth loss (AMTL), this population group had a low dental caries prevalence and high AMTL prevalence. Moreover, males had significantly much more AMTL than females. A comparative study with the other prehistoric populations in Northeast Thailand suggests the Non Pacha Kao people had significantly much more AMTL than the others in the Upper Mun Valley although dental caries prevalence were almost equal between the samples. These revealed the similarity of food consumption behaviors and diets, and the variety in daily behaviors and oral hygiene practices in each group.